บุคลากรของศูนย์สอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการ 2. เจ้าหน้าที่ระดับปริญญาตรี 1 ตำแหน่ง ช่วยงานบริหารศูนย์สอบฯ งานจัดการสอบ บริหารฐานข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ 3. เจ้าหน้าที่ระดับปริญญาตรี 1 ตำแหน่ง ช่วยงานธุรการ งานพัสดุ งานจัดการสอบ และให้บริการ
ขอบเขต/ภาระงานของศูนย์สอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ
1. การดำเนินการจัดสอบความรู้ ซึ่งรวมขั้นตอนได้แก่
1.1 การรับสมัครสอบ
1.2 การจัดเลขที่นั่งสอบ ห้องสอบ และสนามสอบ
1.3 การจัดพิมพ์สำเนาข้อสอบ
1.4 การเก็บรักษา ส่งมอบข้อสอบให้สนามสอบและรับมอบคืนจากสนามสอบหลังสอบ
1.5 การตรวจให้คะแนนสอบ
1.6 การบันทึกเก็บรวบรวมคะแนนสอบและการประมวลผลสอบ
1.7 การวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อประกันคุณภาพข้อสอบ
1.8 การประกาศผลสอบ
1.9 การทำลายเอกสารข้อสอบ
2. การจัดสร้างฐานข้อมูลของผู้สอบ บันทึกระเบียนประวัติ คะแนนสอบ และการเก็บคะแนนและผลสอบ
3. การให้บริการผู้สมัครสอบในการติดต่อเกี่ยวกับการสอบ ให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานของศูนย์สอบความรู้ฯ และงานด้านอื่นๆของสภาเภสัชกรรม บริหารข้อมูลของศูนย์สอบความรู้ฯในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสอบบนเว็บไซต์สภาเภสัชกรรม
4. การบริหารคลังผลิตภัณฑ์ยา วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพ
5. การประสานงานของคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ งานธุรการ การออกหนังสือ การประชุมของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ ได้แก่
5.1 คณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ
5.2 คณะทำงานสร้างข้อสอบ
5.3 คณะทำงานเลือกข้อสอบ
5.4 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
5.5 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการเตรียมยา
5.6 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการจ่ายยา
6. การบริหารงานธุรการและติดต่อประสานงานกับแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของผู้สมัครสอบที่สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศที่ต้องฝึกงานเพิ่มเติม
7. งานบริหารอื่นของศูนย์สอบความรู้ฯ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ก. การดำเนินการจัดสอบ
1. การรับสมัครสอบ
1.1 การเตรียมการรับสมัครและการประชาสัมพันธ์
- สำเนาเอกสารการรับสมัครสอบ ได้แก่
- ตารางสอบ
- แบบคำร้องขอสมัครสอบ ซึ่งมี 2 แบบ คือสำหรับสมาชิกสภาเภสัชกรรมและสำหรับนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่สำเร็จการศึกษา (เอกสารภาคผนวก)
- ระเบียบการสมัครและกำหนดการรับสมัครด้วยตนเองและทางไปรษณีย์
- ติดประกาศเอกสารการรับสมัครสอบต่างๆทั้งหมดที่บอร์ดของสำนักงานศูนย์สอบความรู้ฯ
- จัดส่งเอกสารประกาศรับสมัครสอบความรู้ฯ ไปที่สถาบันการศึกษาต่างๆ
- ติดตามการนำเอกสารการรับสมัครสอบขึ้นเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม
- ตอบข้อซักถามต่างๆเกี่ยวกับการรับสมัครสอบ ของผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถามข้อมูลและที่สอบถามด้วยตนเองที่ศูนย์สอบ เช่น สอบถามกำหนดการรับสมัคร เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร สถานที่รับสมัคร เป็นต้น
1.2 การรับสมัครด้วยตนเอง
- จัดเอกสารการรับสมัครสอบให้แก่ผู้มาติดต่อขอสมัครสอบความรู้ฯ
- ขั้นตอนการรับสมัครสอบ
- ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานการสมัครว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน จะแจ้งให้ผู้สมัครสอบส่งเพิ่มเติม
- เมื่อเอกสารถูกต้องและครบถ้วน ก็จะกำหนดเลขประจำตัวผู้สอบให้ผู้สมัครสอบตามระบบรหัสประจำตัวผู้สอบ 9 หลัก (เอกสารภาคผนวก)
- พิมพ์บัตรประจำตัวผู้สอบจากโปรแกรมบัตรประจำตัวที่เจ้าหน้าที่สภาเภสัชกรรมได้พัฒนาขึ้นพิมพ์ลงบนกระดาษแข็ง กำหนดสีของกระดาษแข็งที่ใช้พิมพ์บัตรขนาด 100 กรัม ให้ใช้สีกระดาษเปลี่ยนสีในแต่ละปี
- เคลือบบัตรเพื่อให้บัตรมีความแข็งแรงทนทานและเพื่อให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความบนบัตรประจำตัวสอบได้ การเคลือบบัตรใช้เครื่องเคลือบบัตร ยี่ห้อ laminator รุ่น LMA-3
- ประทับลำดับหมายเลขที่การรับสมัครสอบลงบนคำร้องขอสมัครสอบ เพื่อให้สามารถจัดเก็บเอกสารการรับสมัครสอบได้ตามลำดับ สะดวกต่อการตรวจสอบต่อไปได้
- พิมพ์รายละเอียดชื่อผู้สมัครสอบเป็นภาษาไทย ด้วยโปรแกรม Excel โดยกำหนดให้ พิมพ์ทั้งหมด 6 คอลัมน์ ดังนี้
คอลัมน์ที่ 1 เป็นเพศ (นาย/นางสาว)
คอลัมน์ที่ 2 เป็น ชื่อ
คอลัมน์ที่ 3 เป็น นามสกุล
คอลัมน์ที่ 4 เป็นนิสิต/นักศึกษาในหลักสูตรปกติ /หลักสูตรพิเศษ /หลักสูตรภาคสมทบ/หลักสูตรนอกเวลาราชการ/หลักสูตรภาษอังกฤษ/หลักสูตรนานาชาติ เป็นต้น
คอลัมน์ที่ 5 สถานการณ์ฝึกงาน ผ่านการฝึกงานครบ 500 ชั่วโมง /ยังไม่ผ่าน
คอลัมน์ที่ 6 เป็น ที่อยู่ที่อยู่ที่ติดต่อได้
คอลัมน์ที่ 7 เป็น หมายเลขโทรศัพท์
- ขั้นตอนการชำระเงิน
- รับมอบการจ่ายเงินค่าสมัครสอบ
สอบข้อเขียนความรู้ทางเภสัชศาสตร์เชิงบูรณาการ (MCQ) 1.000 บาท
สอบทักษะทางวิชาชีพ (OSPE) 2.000 บาท
-
- วิธีการจ่ายเงินสามารถจ่ายได้โดยเงินสด และการชำระผ่านบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยให้นำสำเนาหรือหลักฐานการโอนเงินแนบมา
- ออกใบสำคัญรับเงิน
- จัดทำบัญชีบันทึกเลขที่ของใบเสร็จรับเงินที่ออกให้แก่ผู้สมัครสอบแต่ละราย
- จัดทำบัญชีรายรับจากการรับสมัครสอบได้แก่ คำธรรมเนียมการสอบ ค่าธรรมเนียมออกบัตรประจำตัวสอบใหม่แทนบัตรเดิมที่สูญหาย ค่าธรรมเนียมการออกใบแจ้งผลสอบรายบุคคลใหม่ทนเอกสารเดิมที่สูญหาย ฯลฯ
- ส่งมอบเอกสารหลักฐานการรับสมัครให้แก่ผู้สมัครสอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวผู้สอบ ใบเสร็จรับเงินฯลฯ
- ช่วยการจัดการโอนเงินส่งมอบให้สภาเภสัชกรรมในเวลา 15.00 น ของแต่ละวันที่มีการรับสมัครสอบ โดยโอนเงินผ่านบัญชีของสภาเภสัชกรรมที่ธนาคาร โดยมีระเบียบเคร่งครัดว่าห้ามค้างส่งเงินโดยเก็บเงินสดไว้ที่สำนักงานศูนย์สอบความรู้ฯ โดยเด็ดขาด
- จัดทำรายชื่อผู้สมัครสอบ พร้อมพิมพ์ฐานข้อมูลรายละเอียดผู้สอบ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ เป็นต้น โดยโปรแกรม Excel
- จัดทำระเบียนรายบุคคล (profile) โดยโปรแกรม Access เพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคลของผู้สมัครสอบได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ การเก็บคะแนนสอบ/การหมดอายุการเก็บคะแนน การสอบผ่าน/ไม่ผ่าน การฝึกงาน เป็นต้น
- ในกรณีที่ผู้สมัครสอบสำเร็จการศึกษาโดยสมบูรณ์แล้ว จะแจ้งให้ผู้สมัครสอบทำการสมัครสมาชิกสภาเภสัชกรรมด้วย จากนั้นก็จะโอนเงินส่งมอบให้แก่สภาเภสัชกรรม เช่นเดียวกับการสมัครสอบ
- ในกรณีที่ผู้สมัครสอบทำบัตรประจำสอบ เอกสารการแจ้งผลการสอบรายบุคคล ซึ่งใช้เป็นหลักฐานการสมัครสอบ (ในกรณีที่ไม่ใช่การสอบครั้งแรก) สูญหาย ผู้สมัครสอบจะเขียนคำร้องขอจัดทำอกสารดังกล่าวใหม่ ผู้สมัครสอบจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการจัดทำสำเนาเอกสารใหม่ จากนั้นศูนย์สอบความรู้ฯ ก็จะโอนเงินส่งมอบให้แก่สภาเภสัชกรรม เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ
1.3 การรับสมัครทางไปรษณีย์
- ส่งเอกสารการับสมัครทางไปรษณีย์ไปให้ผู้ขอสมัครสอบที่แจ้งความจำนงต้องการสมัครทางไปรษณีย์ โดยใช้ไปรษณีย์ลงทะเบียน ที่ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องจัดทำเอกสารบันทึกการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
- ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานการสมัครว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน จะแจ้งให้ผู้สมัครสอบส่งเพิ่มเติม เมื่อเอกสารถูกต้องและครบถ้วน ก็จะจัดรหัสประจำตัวผู้สอบให้ผู้สมัครสอบ
- ส่งเอกสารหลักฐานการรับสมัคร ได้แก่ บัตรประจำตัวผู้สอบ ใบเสร็จรับเงินฯลฯ
- ช่วยการจัดการโอนเงินส่งมอบให้สภาเภสัชกรรม
- จัดทำรายชื่อผู้สมัครสอบ พร้อมพิมพ์ฐานข้อมูลรายละเอียดผู้สอบ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ เป็นต้น โดยโปรแกรม Excel
- จัดทำระเบียนรายบุคคล (profile) โดยโปรแกรม Access เพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคลของผู้สมัครสอบได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ การเก็บคะแนนสอบ/การหมดอายุการเก็บคะแนน การสอบผ่าน/ไม่ผ่าน การฝึกงาน เป็นต้น
1.4 การจัดเก็บเอกสารการรับสมัครสอบ
- ประทับตราหมายเลขการรับสมัครสอบที่แบบฟอร์มคำร้องขอสมัครสอบเมื่อผู้สมัครสอบยื่นเอกสารพร้อมกับแสดงหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว
- จัดเก็บเอกสารการรับสมัครสอบในแฟ้ม เรียงตามลำดับการรับสมัครสอบ เอกสารประกอบด้วย
- คำร้องขอสมัครสอบ
- หลักฐานการศึกษาหรือคำรับรองจากสถาบันการศึกษาที่นิสิตนักศึกษาผู้สมัครสอบสังกัด
- เอกสารการแจ้งผลสอบและสำเนาบัตรประจำตัวสอบ กรณีเคยสมัครสอบแล้ว ใช้แสดงแทนหลักฐานการศึกษาได้
- กรณีผู้สมัครสอบเป็นนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่มีการสอบความรู้ฯ ในเดือนมีนาคม ผู้สมัครสอบต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมคือ หลักฐานการศึกษา (transcript) ที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์ ภายในวันที่31 พฤษภาคม ของปีที่สอบนั้น มิฉะนั้นศูนย์สอบความรู้ฯจะดำเนินการตัดผลสอบครั้งนั้นในส่วนของการสอบผ่านหรือการเก็บคะแนนส่วนใดส่วนหนึ่งให้เป็นโมฆะ โดยจะดำเนินการดังนี้
- มีหนังสือแจ้งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเพื่อขอให้ผลสอบผ่านและผลการเก็บคะแนนที่ได้รับการรับรองไปแล้ว เป็นโมฆะ
- ลบข้อมูลออกจากฐานข้อมูลประวัติการเก็บคะแนนของผู้สอบ
- ทำประกาศเรื่อง การปรับผลสอบผ่านและผลการเก็บคะแนนเป็นโมฆะ ทั้งโดยการติดประกาศที่ศูนย์สอบความรู้ฯ และประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม
- เก็บหลักฐานการรับสมัครสอบสำหรับการอ้างอิงเป็นระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่การสมัครสอบครั้งนั้น จากนั้นจะดำเนินการทำลายเอกสาร
2. การกำหนดสนามสอบและเลขที่นั่งสอบ
2.1 การกำหนดสนามสอบ
- จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครสอบตามรหัสประจำตัวผู้สอบ
- สรุปจำนวนผู้สมัครสอบ
- สำหรับผู้สมัครสอบที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐสรุปจำนวนแยกตามสถาบันการศึกษา และจัดสนามสอบที่สถาบันที่นิสิตนักศึกษาสังกัด ยกเว้นแต่ได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น เช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคามใช้สนามสอบร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สำหรับผู้สมัครสอบที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยเอกชน ผู้สมัครสอบที่เป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรมแล้ว จัดสนามสอบที่สถาบันที่ให้ความร่วมมือกับศูนย์สอบความรู้ฯรับเป็นสนามสอบ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- การจัดเลขที่นั่งสอบและห้องสอบ
- กำหนดเลขที่นั่งสอบ โดยเลขที่นั่งสอบนี้จะกำหนดใหม่ในการสอบแต่ละครั้ง
- สำหรับการสอบ MCQ ศูนย์สอบความรู้ฯจะประสานงานกับสนามสอบ เพื่อขอทราบจำนวนห้องสอบที่ใช้ จำนวนที่นั่งสอบ จากนั้น ศูนย์สอบความรู้ฯ จะจัดผู้เข้าสอบให้สอดคล้องกับห้องสอบตามที่ได้รับแจ้งจากสนามสอบ
- สำหรับการสอบ OSPE ศูนย์สอบความรู้ฯ จะเป็นผู้กำหนดจำนวนห้องสอบ จำนวนรอบสอบ และจัดผู้เข้าสอบในแต่ละสนามสอบตามความเหมาะสม
กำหนดจำนวนผู้เข้าสอบ เท่ากับ 30 คน/ ห้องสอบ/ รอบสอบ
โดยจำนวนรอบไม่ควรเกิน 3 รอบสอบ เนื่องจากมีข้อจำกัดที่อาจารย์ผู้คุมสอบจะเหนื่อยเกินไป หากจำนวนห้องสอบมาก สนามสอบต้องมีอาจารย์คุมสอบจำนวนมากพอ เนื่องจากใช้อาจารย์คุมสอบในปัจจุบัน ประมาณ15 คน/ห้อง และเจ้าหน้าที่ประมาณ 7 คน/ห้อง
2.2 การประกาศ/ประชาสัมพันธ์สนามสอบและเลขที่นั่งสอบ
- ก่อนกำหนดการสอบ 2 สัปดาห์ ติดประกาศสนามสอบ ห้องสอบและเลขที่นั่งสอบที่บอร์ดของศูนย์สอบความรู้ฯ และเผยแพร่ประกาศบนเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม เพื่อให้ผู้สมัครสอบได้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการสมัครสอบและเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวเข้าสอบ
- จัดส่งประกาศรายชื่อ เลขที่นั่งสอบและห้องสอบให้แก่สนามสอบ เพื่อใช้สำหรับประกาศ/ประชาสัมพันธ์
3. การจัดเตรียมข้อสอบและวัสดุสำหรับการสอบ
3.1 การจัดตรียมข้อสอบและวัสดุเกี่ยวกับข้อสอบ MCQ
- กำหนดแผนการสำเนาข้อสอบ
- กำหนดวันสำเนาข้อสอบประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนวันสอบ
- คำนวณกำหนดจำนวนข้อสอบ โดยกำหนดให้มีข้อสอบสำรองในแต่ละสนามสอบจำนวน 1 ชุด สนามสอบที่มีผู้สอบจำนวนมากให้มีข้อสอบสำรองจำนวน 2 ชุด ข้อสอบสำรองที่ศูนย์สอบความรู้ฯ จำนวนอย่างน้อย1 ชุด
- ข้อสอบในแต่ละวิชาสอบ (MCQ11, MCQ12) จะมี 4 ชุด คือ ข้อสอบชุด A, B, C, D โดยในแต่ละชุดจะมีการจัดเรียงลำดับสถานการณ์ข้อสอบต่างกัน โดยเนื้อหาในข้อสอบเหมือนกัน
- คำนวณกะประมาณวัสดุการเตรียมข้อสอบ
- กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์ 1 ม้วนสามารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อม้วน
- หมึกพิมพ์เครื่องสำเนา 1 หลอดสามมารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อหลอด
- คำนวณจำนวนรีมกระดาษสำเนาหรือกระดาษถ่ายเอกสาร
จำนวนรีม = (จำนวนหน้าข้อสอบ /2) X จำนวนชุดข้อสอบ
-
- กะประมาณจำนวนกระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์
ปกติการสั่งพิมพ์กระดาษคำตอบจะเลือกสั่งจากบริษัทเดียวกับบริษัทเครื่องตรวจข้อสอบ เพื่อป้องกันปัญหามาตรฐานกระดาษและการพิมพ์ทำให้สามารถการสแกนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสั่งพิมพ์จำนวนยิ่งมากราคายิ่งถูก ศูนย์สอบความรู้ฯ จะสั่งพิมพ์ครั้งละ 10,000 แผ่น จะสามารถใช้ได้ประมาณ 2 ปี
การสอบครั้งที่ 1 ของปีประมาณ 3000 แผ่น/ครั้ง
การสอบครั้งที่ 2 ของปีประมาณ 1000 แผ่น/ครั้ง
การสอบครั้งที่ 3 ของปี ประมาณ 600 แผ่น/ครั้ง
-
- กะประมาณจำนวนซองข้อสอบซึ่งขึ้นกับจำนวนข้อสอบและจำนวนห้องสอบ ซองข้อสอบโดยทั่วไปจะบรรจุข้อสอบประมาณได้ประมาณ 30-40 ชุด
- สอบราคาจากบริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย ขอใบเสนอราคา ขออนุมัติสั่งซื้อวัสดุ
- สำเนาข้อสอบในปริมาณที่คำนวณไว้ (เครื่องสำเนา Risographรุ่น PriportJP1250) โดยจำนวนของข้อสอบแต่ละชุดคือ ชุด A, B, C, D จะเท่ากับจำนวนข้อสอบทั้งหมดที่คำนวณไว้ หารด้วย 4
ข้อปฏิบัติในการสำเนาข้อสอบที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ การสำเนาข้อสอบชุดวิชาใดวิชาหนึ่งเพียง 1 ชุด และจัดเรียงชุดให้เรียบร้อยแล้วจึงเริ่มสำเนาข้อสอบชุดใหม่ต่อไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการปะปนกันของข้อสอบ
- เรียงจัดชุดข้อสอบโดยเครื่องเรียงเอกสาร (เครื่องเรียงเอกสาร Gestetner รุ่น 310) ซึ่งสามารถ เรียงเอกสารได้ครั้งละ 10 แผ่น ซึ่งมีประสิทธิภาพลดความผิดพลาดได้ดีกว่าการเรียงโดยใช้แรงงานคน
- เย็บชุดข้อสอบโดยใช้เครื่องเย็บลวดไฟฟ้า (Electronic stapler ยี่ห้อ Max รุ่น EH-50F) ซึ่งเย็บได้เรียบไม่เป็นรอยนูนทำให้ประหยัดเยื้อที่ในซองข้อสอบและเย็บได้รวดเร็วและประหยัดแรง
- ประทับหมายเลขที่นั่งสอบลงบนกระดาษข้อสอบทั้ง 4 ชุดโดยนำข้อสอบทั้งหมดมาจัดสลับกันระหว่าง A, B, C, D จนหมดชุดข้อสอบ
- ประทับตัวอักษร A, B, C, D ลงบนกระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์ทุกแผ่น พร้อมทั้งประทับหมายเลขที่นั่งสอบลงบนกระดาษคำตอบให้ตรงกับชุดข้อสอบ จากนั้นจับคู่ข้อสอบกับกระดาษคำตอบที่มีอักษรชุด A, B, C, D และเลขที่นั่งสอบตรงกัน เช่น 1234 B โดยการสอดกระดาษคำตอบไว้ระหว่างข้อสอบแผ่นที่ 1 และ 2
- จัดข้อสอบเข้าซองสำหรับห้องสอบและสนามสอบที่กำหนดเลขที่นั่งสอบและชุดข้อสอบ A, B, C, D ไว้แล้ว
- ปิดผนึกซองข้อสอบ ประทับตราสภาเภสัชกรรมที่เทปปิดผนึกเพื่อป้องกันการเปิดโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต หากห้องสอบใดมีซองข้อสอบมากว่า 1 ซองให้มัดซองข้อสอบสำหรับห้องสอบนั้นด้วยกัน
- บรรจุซองข้อสอบลงในกล่องกระดาษปิดผนึก ติดสติกเกอร์ระบุรายละเอียดสนามสอบ
3.2 การจัดเตรียมข้อสอบและวัสดุสำหรับข้อสอบ OSPE
o กำหนดแผนการสำเนาข้อสอบ
o กำหนดวันสำเนาข้อสอบประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนวันสอบ
o คำนวณกำหนดจำนวนข้อสอบ โดยกำหนดให้มีข้อสอบสำรองในแต่ละสนามสอบจำนวน 1 ชุด ข้อสอบสำรองที่ศูนย์สอบความรู้ฯ จำนวนอย่างน้อย 1 ชุด ข้อสอบทักษะจะมีลักษณะข้อสอบโดยทั่วไป 2 แบบคือ
§ ข้อสอบที่ให้คะแนนโดยอาจารย์ประจำสถานีสอบ โดยสังเกตและประเมินจากทักษะที่ผู้สอบแสดง โดยประเมินตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด
จัดเตรียมแบบให้คะแนนของผู้เข้าสอบ โดยจะมีชื่อผู้เข้าสอบ เลขที่สอบซึ่งจัดตามห้องสอบและรอบสอบที่กำหนดไว้ โดยจำนวนผู้เข้าสอบ
§ ข้อสอบที่ให้คะแนนจากการตรวจกระดาษคำตอบ
จัดพิมพ์สำเนากระดาษคำตอบตามจำนวนผู้เข้าสอบ
o คำนวณกะประมาณวัสดุการเตรียมข้อสอบ
o กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์ 1 ม้วนสามารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อม้วน
o หมึกพิมพ์เครื่องสำเนา 1 หลอดสามมารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อหลอด
o คำนวณจำนวนรีมกระดาษสำเนาหรือกระดาษถ่ายเอกสาร
จำนวนรีม = จำนวนหน้ากระดาษคำตอบ X จำนวนผูเข้าสอบ
o กะประมาณจำนวนซองกระดาษคำตอบซึ่งขึ้นกับจำนวนห้องสอบและจำนวนรอบสอบ ซองข้อสอบโดยทั่วไปจะบรรจุข้อสอบประมาณได้ประมาณ 30-40 ชุด
o กะประมาณจำนวนกล่องกระดาษหรือลังสำหรับบรรจุข้อสอบและวัสดุผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีสำหรับการสอบที่มีขนาดและความหนาพอเหมาะ มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ใหญ่จนไม่สะดวกต่อการขนย้ายและไม่เล็กเกินจนไม่สามารถบรรจุข้อสอบและวัสดุได้พอ
§ กำหนดกล่องที่ขนาดเหมาะสมคือกล่องกระดาษแบบ 3 ชั้น ขนาด กว้าง X ยาว X สูง เท่ากับ 12 X 14 X 10 นิ้ว
§ สำหรับกล่องบรรจุยาและสารเคมี กำหนด 1 ห้องสอบ ใช้ 1 ลัง
§ สำหรับกล่องบรรจุเอกสารข้อสอบ สนามสอบละ 1-2 กล่อง
o กะประมาณวัสดุอื่นๆ ได้แก่
§ เทปกาวขนาดกลางสำหรับปิดผนึกซองข้อสอบ เทปกาวขนาดใหญ่สำหรับปิดผนึกลังกระดาษ
§ เชือกสำหรับมัดซองข้อสอบและกล่องกระดาษ
§ กระดาษสติกเกอร์สำหรับพิมพ์รายละเอียดหน้ากล่องกระดาษ
o จัดเตรียมวัสดุผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีสำหรับการสอบ
o จัดผลิตภัณฑ์ยาตามรายการที่กำหนดในข้อสอบ โดยเบิกจากสต๊อกผลิตภัณฑ์ยาของศูนย์สอบความรู้ฯ รายการผลิตภัณฑ์ยาใดที่ไม่มีในสต๊อกหรือมีจำนวนไม่พอหรือยาหมดอายุแล้ว จัดซื้อเพิ่มตามจำนวนที่กำหนดในข้อสอบ
o จัดวัสดุสารเคมีที่กำหนดในข้อสอบ โดยสั่งซื้อในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่ต้องการใช้ ไม่ให้เหลือเกินพอเพราะมีสถานที่เก็บของสต๊อกของศูนย์สอบความรู้ฯจำกัด
o บรรจุผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีที่จัดไว้ ใส่กล่องกระดาษเรียงตามสถานีสอบ ปิดผนึกกล่อง ติดสติกเกอร์หน้ากล่องระบุหมายเลขห้องสอบ ชื่อสนามสอบ
3.3 การประสานงานกับสนามสอบและประชุมสนามสอบเพื่อรับข้อสอบ
o มีหนังสือถึงคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์เป็นสนามสอบ ขอให้เสนอชื่อประธานสนามสอบ
o ดำเนินการประกาศแต่งตั้งประธานสนามสอบ ประจำสถาบันการศึกษาต่างๆ
o ประสานงานทำความเข้าใจให้แก่ประธานสนามสอบในด้านภาระหน้าที่ของประธานสนามสอบ คู่มือการดำเนินการจัดสอบเพื่อประกันคุณภาพการสอบ ระเบียบข้อบังคับการสอบและการลงโทษ พร้อมจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ประธานสนามสอบ
o ติดต่อประสานงานการจัดสอบระหว่างศูนย์สอบความรู้ฯและสนามสอบทั้งหมด ในด้านต่างๆ ได้แก่
o จำนวนห้องสอบ ชื่อห้อง
o จำนวนที่นั่งในแต่ละห้องสอบ
o ศูนย์สอบความรู้ฯ กำหนดเลขที่นั่งและชุดข้อสอบ (A, B, C, D) ของแต่ละที่นั่งสอบ
o ส่งประกาศห้องสอบ เลขที่นั่งสอบให้แก่ทุกสถาบัน
o จัดส่งหนังสือเชิญประธานสนามสอบเพื่อประชุมทำความเข้าใจข้อสอบและรับข้อสอบ กำหนดนัดวันประชุมประมาณ 3-5 วันก่อนการสอบ ประสานงานขอใช้ห้องประชุมและจัดเตรียมอาหารว่างสำหรับผู้เข้าประชุม
o จัดเตรียมเอกสารการประชุม ได้แก่
o ระเบียบการสอบ
o ข้อกำหนดสำหรับสนามสอบในการดำเนินการจัดสอบ
o ข้อสอบ MCQ สำรองสำหรับประธานสนามสอบ 1 ชุด (เอกสารปกปิด)
o ข้อสอบ OSPE สำรองสำหรับประธานสนามสอบ 1 ชุด (เอกสารปกปิด)
o เอกสารประกอบสำหรับการสอบ OSPE ได้แก่ (เอกสารปกปิด)
§ โครงสร้างข้อสอบ OSPE 30 สถานี
§ แผนผังการจัดสถานีสอบแต่ละสถานี รวม 30 สถานี (การจัดวางอุปกรณ์การสอบ เครื่องแก้ว หนังสือ ผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมี ตำแหน่งการจัดวางเก้าอี้นั่งสำหรับผู้เข้าสอบ กรรมการสอบ ผู้ช่วยกรรมการ)
§ รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีพร้อมระบุจำนวน แต่ละสถานี
§ รายชื่ออุปกรณ์เครื่องแก้ว หนังสือ หรืออุปกรณ์อื่นๆพร้อมระบุจำนวน แต่ละสถานี
§ คำถามข้อสอบแต่ละสถานี (25 สถานี)
§ กระดาษคำตอบของแต่ละสถานี (ข้อสอบที่ตอบในกระดาษคำตอบ)
§ เกณฑ์การให้คะแนนของข้อสอบแต่ละสถานี (25 สถานี)
o ส่งมอบข้อสอบให้แก่ประธานสนามสอบ โดยจัดเตรียมเอกสารให้ประธานสนามสอบได้ลงชื่อรับมอบข้อสอบ ระบุจำนวนกล่อง/ซองข้อสอบที่ได้รับ
o ประสานงานจัดเจ้าหน้าที่/คนงานช่วยการขนย้ายข้อสอบให้แก่ประธานสนามสอบ
o ประสานงานให้บริการประธานสนามสอบโดยจัดหารถรับส่งข้อสอบไปที่สนามบินสำหรับสนามสอบในส่วนภูมิภาค
3.4 การรับข้อสอบ จัดเรียงข้อสอบและการตรวจวิเคราะห์ข้อสอบ MCQ
o รับมอบข้อสอบและวัสดุอุปกรณ์การสอบคืนจากสนามสอบ โดยจัดทำเอกสารลงชื่อผู้ส่งมอบข้อสอบของสนามสอบ
o การจัดเรียงข้อสอบ MCQ
o ตรวจนับชุดข้อสอบว่ามีจำนวนครบถ้วนตามที่ส่งให้สนามสอบ
o ตรวจนับกระดาษคำตอบว่ามีจำนวนครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุที่หน้าซองข้อสอบ
o จัดเรียงกระดาษคำตอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ
o ตรวจสอบสภาพกระดาษคำตอบและความเรียบร้อยของการระบายกระดาษคำตอบ เพื่อให้สามารถสแกนตรวจข้อสอบได้โดยไม่ทำให้เกิดปัญหา
o การตรวจข้อสอบ MCQ
o ตรวจข้อสอบโดยเครื่องตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบ (เครื่อง NCS Pearson รุ่น Opscana-4 U) โดยสแกนกระดาษคำตอบที่เป็น Key ของข้อสอบ นำมาตรวจสอบความถูกต้องของการสแกนอ่านของเครื่องตรวจข้อสอบก่อนเริ่มการตรวจการะดาษคำตอบอื่น จากนั้นจึงเริ่มตรวจกระดาษคำตอบ
o ตรวจสอบผลการตรวจว่ามีรายงานความผิดปกติของข้อมูลที่สแกนได้ ได้แก่
§ รหัสประจำตัวผู้สอบ
§ ชุดวิชาสอบ
o บันทึกและรายงานชื่อผู้เข้าสอบที่ระบายข้อมูลการสอบ คือรหัสประจำตัวสอบ และชุดวิชาสอบผิด เพื่อพิจารณาไม่ตรวจพิจารณาคะแนนสอบ
o การวิเคราะห์ข้อสอบ
o วิเคราะห์ข้อสอบตามโปรแกรม สั่งพิมพ์รายงานวิเคราะห์ข้อสอบของข้อสอบ MCQ11, MCQ12 พารามิเตอร์การวิเคราะห์ข้อสอบ ได้แก่
§ ค่าพารามิเตอร์ทั่วไปของการสอบ ได้แก่ Mean, Mode, Median, Standard Deviation, Maximum, Minimum, Reliability เป็นต้น
§ ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ (item) แต่ละข้อ จำนวนข้อสอบชุดละ 150 ข้อ รวม 300 ข้อ พิจารณาค่า P (difficulty index), ค่า R (discrimination index) ของข้อสอบแต่ละข้อ และแต่ละตัวเลือก(1, 2, 3, 4, 5) ของข้อสอบ บันทึกตัวเลขค่า P และ R ของข้อสอบแต่ละข้อลงในตารางโดยโปรแกรม Excel
§ วิเคราะห์ข้อมูลและจัดกลุ่มข้อสอบที่มีค่า P และ R ต่างๆ นับจำนวนข้อสอบที่มีค่า P และ R ในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1) ค่า P < 0.2, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 เป็นข้อสอบยากและความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้น้อยหรือได้ดี
2) ค่า P 0.2 -0.8, ค่า R < 0.2 เป็นข้อสอบดี ได้มาตรฐาน ความยากง่ายไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่ความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้น้อย
3) ค่า P 0.2 -0.8, ค่า R > 0.2 เป็นข้อสอบดี ได้มาตรฐาน ความยากง่ายไม่มากหรือน้อยเกินไป และความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้ดี
4) ค่า P > 0.8, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 เป็นข้อสอบง่าย และความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้น้อยหรือได้ดี
o นำข้อสอบกลุ่มที่มีค่า P < 0.2, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 มาพิจารณาในแง่
§ ข้อสอบมีความยากเกิน หรือมีเนื้อหาอยู่นอกเกณฑ์ความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพฯหรือไม่
§ ข้อสอบมีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม เข้าใจยาก เช่น การใช้ภาษาปฏิเสธซ้อนปฏิเสธหรือไม่
§ ข้อสอบมีปัญหาการเฉลยคำตอบคลาดเคลื่อนหรือผิดหรือไม่
o นำเสนอข้อสอบที่ค่า P < 0.2, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 ต่อคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ เพื่อพิจารณา เพื่อให้สามารถตัดสินผลสอบได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง
3.5 การรับข้อสอบ จัดเรียงข้อสอบและการตรวจวิเคราะห์ข้อสอบ OSPE
o รับมอบข้อสอบและวัสดุอุปกรณ์การสอบคืนจากสนามสอบ โดยจัดทำเอกสารลงชื่อผู้ส่งมอบข้อสอบของสนามสอบ
o จัดแยกเอกสาร กระดาษคำถาม เอกสารรายชื่อสารเคมี รายชื่อวัสดุอุปกรณ์ เอกสารเกี่ยวกับการสอบ แยกไว้เพื่อรอการทำลายข้อสอบ
o แยกเอกสารที่เป็นบันทึกจากสนามสอบ และผู้ตรวจให้คะแนนในแต่ละสถานี ในด้านปัญหาของข้อสอบ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวบรวมข้อมูลจัดพิมพ์เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ
o แยกกระดาษข้อสอบออกเป็น 2 ประเภท
1) กระดาษให้คะแนนของอาจารย์คุมสอบในแต่ละสถานีเป็นผู้ประเมินผู้เข้าสอบและให้คะแนน
§ ตรวจนับเอกสารให้คะแนนให้ครบทุกห้องสอบ ทุกรอบสอบและทุกสนามสอบ
§ กรอกคะแนนลงในฐานข้อมูล
2) กระดาษคำตอบเพื่อส่งตรวจให้คะแนน
§ จัดเรียงกระดาษคำตอบ OSPE
§ ตรวจนับกระดาษคำตอบว่ามีจำนวนครบถ้วนตามที่ส่งให้สนามสอบ
§ จัดข้อสอบแต่ละข้อส่งกรรมการตรวจข้อสอบ
§ จัดเอกสารให้กรรมการตรวจข้อสอบลงชื่อรับและส่งข้อสอบ
§ กรอกคะแนนลงในฐานข้อมูล
§ ตรวจสอบความถูกต้องของการกรอกคะแนนโดยบุคคลที่ไม่ใช่ผู้กรอกคะแนน
o การวิเคราะห์ข้อสอบ วิเคราะห์ข้อสอบโดยพิจารณาค่า พารามิเตอร์การวิเคราะห์ข้อสอบ ได้แก่
o ค่าพารามิเตอร์ทั่วไปของการสอบ ได้แก่ Mean, Mode, Median, Standard Deviation, Maximum, Minimum เป็นต้น
o วิเคราะห์ข้อสอบว่าเป็นทักษะประเภทใดที่ผู้สอบทำคะแนนเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
o เสนอผลการวิเคราะห์ข้อสอบ พร้อมกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสอบจากสนามสอบเพื่อให้คณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ พิจารณาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับข้อสอบที่ต้องพิจารณาว่าทำให้การให้คะแนนสอบคลาดเคลื่อนหรือไม่ เพื่อให้สามารถตัดสินผลสอบได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง
3.6 การทำลายเอกสารข้อสอบ
o ข้อสอบ MCQ
o กระดาษข้อสอบที่เป็นส่วนกระดาษคำถาม จะเก็บไว้จนเมื่อมีการตรวจข้อสอบ วิเคราะห์คะแนนสอบ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องย่อยเอกสาร (เครื่องย่อยเอกสารยี่ห้อ HSM รุ่น HSM 225.5) โดยความละเอียดของการทำลาย ขนาดชิ้นกระดาษจะถูกตัดเป็นเส้นความกว้าง 0.5 ซม.
o กระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์ข้อสอบ จะเก็บไว้จนเมื่อมีการตรวจข้อสอบ วิเคราะห์คะแนนสอบและประกาศผลสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนการสอบครั้งใหม่ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องทำลายเอกสาร
o ข้อสอบ OSPE
o กระดาษที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบทั้งหมดที่ส่งกลับขากสนามสอบ จะเก็บไว้จนเมื่อมีการตรวจข้อ สอบ วิเคราะห์คะแนนสอบ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องย่อยเอกสาร
o กระดาษคำตอบและกระดาษให้คะแนนของอาจารย์คุมสอบที่สถานี จะเก็บไว้จนเมื่อมีการกรอกคะแนน ตรวจทานการกรอกคะแนน วิเคราะห์คะแนนสอบและประกาศผลสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนการสอบครั้งใหม่ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องทำลายเอกสาร
ข. การจัดสร้างฐานข้อมูลของผู้สอบ บันทึกระเบียนประวัติ คะแนนสอบ และการเก็บคะแนนและผลสอบ
ฐานข้อมูลของผู้สอบ บันทึกระเบียนประวัติ คะแนนสอบ และการเก็บคะแนนและผลสอบของผู้สอบทุกคนจะทำโดยโปรแกรม Microsoft Access การเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลผู้สอบทุกคนจะมีระเบียนประวัติประจำตัว(profile) มี 2 วิธี
1) ป้อนข้อมูลเพื่อเก็บในระเบียนประจำตัวผู้สอบโดยการเชื่อมต่อ (link) กับไฟล์ข้อมูลต่างๆที่จัดเก็บโดยโปรแกรม Excel ได้แก่
o ไฟล์รายชื่อผู้สมัครสอบ ซึ่งประกอบด้วยชื่อ นามสกุล รหัสประจำตัวสอบ มหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา หลักสูตรที่จบ ประวัติการสอบ คะแนนที่เก็บได้ จะเชื่อมต่อจากไฟล์ Excel เมื่อมีกรอกข้อมูลขณะมีการสมัครสอบ เชื่อมต่อเข้าสู่ระเบียนประวัติโดยอัตโนมัติ (พัฒนาโปรแกรมนี้โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม คือ นางสาวเบญจพร ธนะเพิ่ม)
o คะแนนสอบ MCQ และ OSPE และผลการสอบผ่าน ที่พิมพ์โดยโปรแกรม Excel จะเชื่อมต่อเข้าสู่ระเบียนผู้สอบแต่ละคนได้ โดยไม่ต้องกรอกคะแนนเอง ทำให้ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลในระเบียนประวัติ (พัฒนาโปรแกรมนี้โดยอาจารยฺ์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม คือ นางสาวเบญจพร ธนะเพิ่ม)
2) ป้อนข้อมูลเพื่อเก็บในระเบียนประวัติโดยตรง ได้แก่ การตรวจสอบวันหมดอายุของการเก็บคะแนนสอบ ซึ่งได้กำหนดให้การเก็บคะแนนสอบ MCQ และ OSPE ชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่ง สามารถเก็บได้ 3 ปี หากยังไม่สามารถสอบผ่าน การเก็บคะแนนจะสิ้นสุดลง ปัจจุบัน กำลังพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้สามารถตั้งโปรแกรมในฐานข้อมูล Access ที่จะกำหนดวันหมดอายุในฐานข้อมูลคะแนนสอบเมื่อครบอายุ 3 ปีได้โดยอัตโนมัติ
การนำข้อมูลในฐานข้อมูลในปัจจุบัน สามารถทำได้อย่างเป็นระบบและใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้
1) สืบค้นข้อมูลผู้สอบแต่ละคนได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่ป้อนข้อมูลชื่อ หรือนามสกุล หรือนรหัสประจำตัวสอบ ก็จะเข้าสู่ฐานข้อมูลระเบียนประวัติผู้สอบรายนั้นได้
2) จากฐานข้อมูลนี้ สามารถกำหนดให้พิมพ์เอกสารแจ้งผลการสอบรายบุคคลของผู้สอบแต่ละคนได้โดยอัตโนมัติ รายงานผลการสอบรวมของการสอบแต่ละครั้ง เป็นต้น
การเข้าสู่ฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บคะแนนและการนำข้อมูลมาใช้ จะทำโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเท่านั้น โดยจะมีรหัสผ่านในการเข้าสู่โปรแกรม ทั้งนี้เพื่อรักษาและป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัยและเป็นความลับ
ค. การให้บริการผู้สมัครสอบในการติดต่อเกี่ยวกับการสอบ ให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานของศูนย์สอบความรู้ฯ และงานด้านอื่นๆของสภาเภสัชกรรม บริหารข้อมูลของศูนย์สอบความรู้ฯ ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสอบบนเว็บไซต์สภาเภสัชกรรม
ในปัจจุบันงานบริการให้ข้อมูลตอบคำถามให้ติดต่อกับศูนย์สอบความรู้ฯ ทั้งโดยทางโทรศัพท์และการมาติดต่อด้วยตนเองมีมากขึ้น ลักษณะข้อมูลที่ต้องตอบคำถามได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับ กำหนดการรับสมัครสอบ วิธีการสมัครสอบ เอกสารที่ใช้ การประกาศผลสอบ การขอขึ้นทะเบียนฯ การขอปรึกษาปัญหาของตนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสมัครสอบ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม แต่ก็ยังมีผู้ติดต่อเพื่อสอบถามจำนวนมาก
ง. การบริหารคลังผลิตภัณฑ์ยา วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพ
ตั้งแต่การสอบทักษะทางวิชาชีพครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2546 จนถึงการสอบครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2547 การจัดวัสดุเกี่ยวกับสอบ ได้รับความร่วมมือโดยภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคิดค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายในอัตรา 50 บาท/ผู้สอบ 1 คน
ต่อมา ศูนย์สอบความรู้ฯ เห็นว่า หากศูนย์สอบความรู้ฯ สามารถดำเนินการในการจัดวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะได้เอง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการสอบได้มากขึ้น ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ การควบคุมเอกสารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และการบริหารคลังวัสดุผลิตภัณฑ์ยา จะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดมากขึ้น
ในดารสอบทักษะทางวิชาชีพซึ่งเป็นการสอบที่พยายามจัดสถานีสอบ (station) ให้มีสถานการณ์ใกล้ เคียงกับสถานการณ์จริงทางวิชาชีพ จึงจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ในการสอบ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดสอบ ผลิตภัณฑ์ยา วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพต่างๆ จำนวนมาก ได้แก่
1) วัสดุเกี่ยวกับการจัดสอบ ได้แก่
o แผ่นป้ายประกอบด้วย ป้ายหมายเลขสถานีสอบ หมายเลข 1 – 30 จำนวน 30 ป้าย และป้าย “พัก” ชุดละ 5 ป้าย มีจำนวนรวมทั้งหมด 22 ชุด ปัจจุบันได้เก็บไว้ที่สนามสอบที่ดำเนินการจัดสอบ OSPE ให้กับสภาเภสัชกรรม ใน 9 มหาวิทยาลัย
o ถาดนับเม็ดยา 4 ถาด (ใช้กรณีสอบที่สนามสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
o นาฬิกาขับเวลาพร้อมกับเสียงกริ่งเมื่อครบเวลา จำนวน 4 เครื่อง (ใช้กรณีสอบที่สนามสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
o เครื่องคิดเลข จำนวน 4 เครื่อง (ใช้กรณีสอบที่สนามสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2) วัสดุการสอบ
o ผลิตภัณฑ์ยา การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ยา ได้จัดทำบัญชีคลังเก็บโดยใช้โปรแกรม Excel โดยเก็บข้อมูลต่างๆของผลิตภัณฑ์ยา ได้แก่ ชื่อสามัญ (generic name) ชื่อการค้า (trade name) รูปแบบยา (dosage form) จำนวนที่มีอยู่ และวันหมดอายุ
บัญชีคลังยาดังกล่าวนี้ ใช้ประโยชน์ในการควบคุมปริมาณยา การจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบ ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาเมื่อต้องนำผลิตภัณฑ์ยามาใช้ในการสอบซ้ำใหม่ การควบคุมเพื่อคัดแยกยาที่เสื่อมสภาพและหมดอายุ
o วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพต่างๆ ได้แก่วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆที่ใช้ในการสอบ ได้แก่สารเคมี ขวดบรรจุยา เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติคขนาดต่างๆทั้งขวดไม่มีสี และชวดสีชา ถุงพลาสติค ซองยาขนาดต่างๆ ซองใส ซองสีชา สติกเกอร์เพื่อทำป้าย ฉลาก ซองกระดาษสีน้ำตาลขนาดต่างๆ เพื่อบรรจุกระดาษข้อสอบ กระดาษคำตอบ ลังกระดาษขนาดมาจรฐานเพื่อบรรจุอุปกรณ์การสอบต่างๆ ส่งไปยังสนามสอบ
จ. การประสานงานของคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ งานธุรการ การออกหนังสือ การประชุมของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ ได้แก่
5.1 คณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ
1) การประสานงานการประชุมคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ การประชุมจะมีประมาณ 3-4 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่
- การจัดทำเอกสารเชิญประชุม
- การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่กรอกเอกสารชื่อที่อยู่ จากนั้นนำไปฝากกับเจ้าหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการนำไปที่ทำการไปรษณีย์
- การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม
- การจองห้องประชุม
- การจัดเตรียมกาแฟและอาหารว่าง
- สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงิน
- การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย
2) งานเลขานุการสอบความรู้ฯ
- การประสานงานการขัดประชุมคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ
- การจัดทำรายงานการประชุม
- การบริหารคลังข้อสอบสภาเภสัชกรรม ซึ่งมีระบบและขั้นตอนต่างๆ ได้แก่
o การประสานงานขอข้อสอบจากคณะเภสัชศาสตร์
o การรับและรวบรวมข้อสอบจากคณะทำงานสร้างข้สอบ
o การกำหนดระบบรหัสข้อสอบ (เอกสารประกอบ) จัดรหัสข้อสอบ ทั้งข้อสอบข้อเขียนความรู้ทางเภสัชศาสตร์เชิงบูรณาการ และข้อสอบทักษะทางวิชาชีพ เป็นรหัส 8 หลัก ระบบรหัสนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยเลขานุการคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการจัดทำคลังข้อสอบในปี พ.ศ.2546
o การจัดเก็บข้อสอบในคลังข้อสอบในคอมพิวเตอร์ โดยมีบัญชีควบคุมรายการข้อสอบ โดยโปรแกรม Excel ทำให้สามารถสืบค้นข้อสอบได้ ดังนี้
§ ข้อสอบ MCQ สืบค้นข้อสอบได้จาก รหัสประจำข้อสอบ ระบบอาการ/กลุ่มโรค (17 กลุ่ม) ตามมหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบ (12 มหาวิทยาลัย) ปีที่ออกข้อสอบ ยาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
§ ข้อสอบ OSPE สืบค้นข้อสอบได้จาก กลุ่มทักษะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยา กลุ่มเกี่ยวกับผู้ป่วย กลุ่มสังคมและการบริหาร มหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบ
5.2 คณะทำงานสร้างข้อสอบ
เสนอชื่อโดยคณบดีของคณะเภสัชศาสตร์ที่ออกข้อสอบ โดยคำสั่งแต่งตั้งของงคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ การประสานงานกับคณะทำงานสร้างข้อสอบ ได้แก่
o การขอข้อสอบประจำปี
o การรับข้อสอบ
o การทำหนังสือแจ้งตอบรับข้อสอบ
o การส่งข้อสอบเพื่อให้คะทำงานสร้างข้อสอบแก้ไขหลังการประชุมพิจารณาของคณะทำงานเลือกข้อสอบ
o การรับข้อสอบที่แก้ไขแล้วเพื่อจัดเก็บในคลังข้อสอบสำหรับการสุ่มเพื่อใช้เป็นข้อสอบ
o การดำเนินการจัดส่งค่าตอบแทนการสร้างข้อสอบ
5.3 คณะทำงานเลือกข้อสอบ
การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี ใช้เวลาการประชุมต่อเนื่องกัน 2-3 วันต่อครั้ง การประสานงานได้แก่
- การสรรหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้แก่ เภสัชกรรมคลินิก เภสัชกรรมเทคโนโลยี เภสัชวิทยา/เภสัชวิทยาคลินิก เภสัชเคมี เภสัชเวท กฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพในบางสาขา
- การจัดทำเอกสารแต่งตั้งคณะทำงานเลือกข้อสอบ และเชิญประชุม
- การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์
- การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม
- การจองห้องประชุม
- การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานเลือกข้อสอบจากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค
- การจัดยืมโสตทัศนูปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ LCD, Projector และจอฉาย เพื่อฉายข้อสอบที่พิจารณาขึ้นบนจอฉาย ทั้งนี้เพื่อลดภาระและปัญหาการสำเนาข้อสอบให้คณะทำงานเลือกข้อสอบในการพิจารณาระหว่างการประชุม เป็นการลดค่าใช้จ่ายการสำเนาและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับข้อสอบ
- การจัดเตรียมอาหารกลางวัน กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม
- สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก
- การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย
5.4 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่
- การขอรายชื่อผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ การทำคำสั่งแต่งตั้ง และเชิญประชุม
- การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์
- การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม
- การจองห้องประชุม
- การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานฯ จากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค
- การจัดเตรียม กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม
- สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก
- การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย
5.5 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการเตรียมยา
การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่
- การขอรายชื่อผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ การทำคำสั่งแต่งตั้ง และเชิญประชุม
- การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์
- การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม
- การจองห้องประชุม
- การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานฯ จากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค
- การจัดเตรียม กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม
- สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก
- การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย
5.6 คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการจ่ายยา
การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่
- การขอรายชื่อผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ การทำคำสั่งแต่งตั้ง และเชิญประชุม
- การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์
- การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม
- การจองห้องประชุม
- การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานฯ จากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค
- การจัดเตรียม กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม
- สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก
- การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย
ฉ. การบริหารงานธุรการและติดต่อประสานงานกับแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของผู้สมัครสอบที่สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศที่ต้องฝึกงานเพิ่มเติม
o จัดเตรียมเอกสารแบบฟอร็มคำขอฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เอกสารคู่มือการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และแบบฟอร์มการประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ซึ่งมี 4 แบบฟอร็ม ได้แก่ การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา การผลิตยาระดับการผลิตในโรงพยาบาล การผลิตยาในโรงงานยา
o ติดต่อประสานงานแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพด้านต่างๆ ได้ โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โรงงานยา และร้านยา
o เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการฝึกงานปฏิบัติงานวิชาชีพของผู้ขอฝึกเพื่อดำเนินการจัดส่งให้กับแหล่งฝึกและเภสัชกรผู้รับผิดชอบการฝึก
o ตรวจเยี่ยมแหล่งฝึกเพื่อรับทราบผลและปัญหาการฝึก
o รวบรวมผลการประเมินการฝึก คิดและรวบรวมคะแนน
o รายงานผลการฝึกต่อคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯและเลขาธิการสภาเภสัชกรรม ในกรณีที่ผู้ฝึกได้ผ่านการสอบความรู้ฯทั้งในส่วนข้อเขียนความรู้ทางเภสัชศาสตร์เชิงบูรณาการและข้อสอบทักษะทางวิชาชีพแล้ว ก็สามารถสอบผ่านเพื่อจอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้
ช. งานบริหารอื่นของศูนย์สอบความรู้ฯ ได้แก่
1. การจัดทำบัญชีเบิกจ่ายพัสดุของศูนย์สอบความรู้ฯ
o การจัดทำบัญชีการซื้อ เบิกจ่ายพัสดุ ของศูนย์สอบความรู้ฯ โดยเริ่มพัฒนาให้จัดทำสมุดเบิกจ่าย การจัดเก็บ พัฒนาให้มีขั้นตอนขออนุมัติจัดซื้อพัสดุ การจ่ายเงิน
o การจัดทำบัญชีและสต๊อกผลิตภัณฑ์ยาของศูนย์สอบความรู้ฯ จัดเก็บในที่เหมาะสม เช่นในตู้เก็บยาทั่วไป ในตู้เย็น เป็นต้น
o การจัดทำบัญชีครุภัณฑ์ศูนย์สอบความรู้ฯ ซึ่งได้รับอนุมัติจัดซื้อในแต่ละปี จัดทำรหัสครุภัณฑ์ และบันทึก การใช้งาน
o การจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานเกี่ยวกับการสอบที่ศูนย์สอบฯ ซึ่งมาติดต่อทั้งทางโทรศัพท์และติดต่อด้วยตนเอง เพื่อทราบภาระงานบริหาร ปัญหาการบริการและการแก้ปัญหา
แผนการพัฒนางานในขั้นต่อไป
1. จัดการบริหาร web page ของศูนย์สอบความรู้ฯ ให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากบริหาร website โดยบริษัทตัวแทน การติดต่อประสานงานเพื่อให้ผู้บริหารเว็บไม่มีประสิทธิภาพ การเสนอข่าวสารไม่ทันสมัย ชักช้า ข้อมูลที่ต้องการให้สื่อสารไม่ครบถ้วน ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้เว็บอยู่เสมอ
2. พัฒนาระบบการรับสมัครสอบให้สามารถสมัครได้ทางเว็บ โดยสามารถโอนเงินผ่านทางการสมัคร online ได้ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกสภาเภสัชกรรมและผู้สมัครสอบอื่นๆ
3. พัฒนาระบบการสอบให้ทันสมัย เมื่อคลังข้อสอบมีจำนวนข้อสอบมากพอ การสอบในอนาคตอาจสามารถสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้การสอบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปัญหาการคุมสอบโดยบุคคลได้ส่วนหนึ่ง
|