เกี่ยวกับเรา

บุคลากรของศูนย์สอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ ประกอบด้วย

1. ผู้อำนวยการ 
2. เจ้าหน้าที่ระดับปริญญาตรี 1 ตำแหน่ง ช่วยงานบริหารศูนย์สอบฯ งานจัดการสอบ บริหารฐานข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ 
3. เจ้าหน้าที่ระดับปริญญาตรี 1 ตำแหน่ง ช่วยงานธุรการ งานพัสดุ งานจัดการสอบ และให้บริการ

ขอบเขต/ภาระงานของศูนย์สอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ

1.  การดำเนินการจัดสอบความรู้ ซึ่งรวมขั้นตอนได้แก่

         1.1  การรับสมัครสอบ 

         1.2  การจัดเลขที่นั่งสอบ ห้องสอบ และสนามสอบ

         1.3  การจัดพิมพ์สำเนาข้อสอบ

         1.4  การเก็บรักษา ส่งมอบข้อสอบให้สนามสอบและรับมอบคืนจากสนามสอบหลังสอบ

         1.5  การตรวจให้คะแนนสอบ

         1.6  การบันทึกเก็บรวบรวมคะแนนสอบและการประมวลผลสอบ

         1.7  การวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อประกันคุณภาพข้อสอบ

         1.8  การประกาศผลสอบ

         1.9  การทำลายเอกสารข้อสอบ

2.  การจัดสร้างฐานข้อมูลของผู้สอบ บันทึกระเบียนประวัติ คะแนนสอบ และการเก็บคะแนนและผลสอบ

3.  การให้บริการผู้สมัครสอบในการติดต่อเกี่ยวกับการสอบ ให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานของศูนย์สอบความรู้ฯ และงานด้านอื่นๆของสภาเภสัชกรรม บริหารข้อมูลของศูนย์สอบความรู้ฯในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสอบบนเว็บไซต์สภาเภสัชกรรม

4.  การบริหารคลังผลิตภัณฑ์ยา วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพ

5.  การประสานงานของคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ งานธุรการ การออกหนังสือ การประชุมของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ ได้แก่

          5.1  คณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ

          5.2  คณะทำงานสร้างข้อสอบ

          5.3  คณะทำงานเลือกข้อสอบ

          5.4  คณะทำงานพัฒนามาตรฐานการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ

          5.5  คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการเตรียมยา

          5.6  คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการจ่ายยา

6.  การบริหารงานธุรการและติดต่อประสานงานกับแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของผู้สมัครสอบที่สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศที่ต้องฝึกงานเพิ่มเติม

7.  งานบริหารอื่นของศูนย์สอบความรู้ฯ 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ก.  การดำเนินการจัดสอบ

1.  การรับสมัครสอบ

1.1  การเตรียมการรับสมัครและการประชาสัมพันธ์

  • สำเนาเอกสารการรับสมัครสอบ ได้แก่
    • ตารางสอบ
    • แบบคำร้องขอสมัครสอบ ซึ่งมี 2 แบบ คือสำหรับสมาชิกสภาเภสัชกรรมและสำหรับนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่สำเร็จการศึกษา (เอกสารภาคผนวก)
    • ระเบียบการสมัครและกำหนดการรับสมัครด้วยตนเองและทางไปรษณีย์
  • ติดประกาศเอกสารการรับสมัครสอบต่างๆทั้งหมดที่บอร์ดของสำนักงานศูนย์สอบความรู้ฯ
  • จัดส่งเอกสารประกาศรับสมัครสอบความรู้ฯ ไปที่สถาบันการศึกษาต่างๆ
  • ติดตามการนำเอกสารการรับสมัครสอบขึ้นเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม
  • ตอบข้อซักถามต่างๆเกี่ยวกับการรับสมัครสอบ ของผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถามข้อมูลและที่สอบถามด้วยตนเองที่ศูนย์สอบ เช่น สอบถามกำหนดการรับสมัคร เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร สถานที่รับสมัคร เป็นต้น

1.2  การรับสมัครด้วยตนเอง

  • จัดเอกสารการรับสมัครสอบให้แก่ผู้มาติดต่อขอสมัครสอบความรู้ฯ
  • ขั้นตอนการรับสมัครสอบ
  • ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานการสมัครว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน จะแจ้งให้ผู้สมัครสอบส่งเพิ่มเติม 
    • เมื่อเอกสารถูกต้องและครบถ้วน ก็จะกำหนดเลขประจำตัวผู้สอบให้ผู้สมัครสอบตามระบบรหัสประจำตัวผู้สอบ 9 หลัก (เอกสารภาคผนวก)  
    • พิมพ์บัตรประจำตัวผู้สอบจากโปรแกรมบัตรประจำตัวที่เจ้าหน้าที่สภาเภสัชกรรมได้พัฒนาขึ้นพิมพ์ลงบนกระดาษแข็ง กำหนดสีของกระดาษแข็งที่ใช้พิมพ์บัตรขนาด 100 กรัม ให้ใช้สีกระดาษเปลี่ยนสีในแต่ละปี   
    • เคลือบบัตรเพื่อให้บัตรมีความแข็งแรงทนทานและเพื่อให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความบนบัตรประจำตัวสอบได้ การเคลือบบัตรใช้เครื่องเคลือบบัตร ยี่ห้อ laminator รุ่น LMA-3
    • ประทับลำดับหมายเลขที่การรับสมัครสอบลงบนคำร้องขอสมัครสอบ เพื่อให้สามารถจัดเก็บเอกสารการรับสมัครสอบได้ตามลำดับ สะดวกต่อการตรวจสอบต่อไปได้
    • พิมพ์รายละเอียดชื่อผู้สมัครสอบเป็นภาษาไทย ด้วยโปรแกรม Excel โดยกำหนดให้ พิมพ์ทั้งหมด 6 คอลัมน์ ดังนี้

 คอลัมน์ที่ 1  เป็นเพศ (นาย/นางสาว)

 คอลัมน์ที่ 2  เป็น ชื่อ

 คอลัมน์ที่ 3  เป็น นามสกุล

 คอลัมน์ที่ 4  เป็นนิสิต/นักศึกษาในหลักสูตรปกติ /หลักสูตรพิเศษ /หลักสูตรภาคสมทบ/หลักสูตรนอกเวลาราชการ/หลักสูตรภาษอังกฤษ/หลักสูตรนานาชาติ เป็นต้น

 คอลัมน์ที่ 5  สถานการณ์ฝึกงาน ผ่านการฝึกงานครบ 500 ชั่วโมง /ยังไม่ผ่าน

 คอลัมน์ที่ 6  เป็น ที่อยู่ที่อยู่ที่ติดต่อได้

 คอลัมน์ที่ 7  เป็น หมายเลขโทรศัพท์

  • ขั้นตอนการชำระเงิน
    • รับมอบการจ่ายเงินค่าสมัครสอบ

                  สอบข้อเขียนความรู้ทางเภสัชศาสตร์เชิงบูรณาการ (MCQ) 1.000 บาท

                  สอบทักษะทางวิชาชีพ (OSPE) 2.000 บาท

    • วิธีการจ่ายเงินสามารถจ่ายได้โดยเงินสด และการชำระผ่านบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยให้นำสำเนาหรือหลักฐานการโอนเงินแนบมา 
    • ออกใบสำคัญรับเงิน 
    • จัดทำบัญชีบันทึกเลขที่ของใบเสร็จรับเงินที่ออกให้แก่ผู้สมัครสอบแต่ละราย
    • จัดทำบัญชีรายรับจากการรับสมัครสอบได้แก่ คำธรรมเนียมการสอบ ค่าธรรมเนียมออกบัตรประจำตัวสอบใหม่แทนบัตรเดิมที่สูญหาย ค่าธรรมเนียมการออกใบแจ้งผลสอบรายบุคคลใหม่ทนเอกสารเดิมที่สูญหาย ฯลฯ
  • ส่งมอบเอกสารหลักฐานการรับสมัครให้แก่ผู้สมัครสอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวผู้สอบ ใบเสร็จรับเงินฯลฯ
  • ช่วยการจัดการโอนเงินส่งมอบให้สภาเภสัชกรรมในเวลา 15.00 น ของแต่ละวันที่มีการรับสมัครสอบ โดยโอนเงินผ่านบัญชีของสภาเภสัชกรรมที่ธนาคาร โดยมีระเบียบเคร่งครัดว่าห้ามค้างส่งเงินโดยเก็บเงินสดไว้ที่สำนักงานศูนย์สอบความรู้ฯ โดยเด็ดขาด
  • จัดทำรายชื่อผู้สมัครสอบ พร้อมพิมพ์ฐานข้อมูลรายละเอียดผู้สอบ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ เป็นต้น โดยโปรแกรม Excel
  • จัดทำระเบียนรายบุคคล (profile) โดยโปรแกรม Access เพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคลของผู้สมัครสอบได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ การเก็บคะแนนสอบ/การหมดอายุการเก็บคะแนน การสอบผ่าน/ไม่ผ่าน การฝึกงาน เป็นต้น
  • ในกรณีที่ผู้สมัครสอบสำเร็จการศึกษาโดยสมบูรณ์แล้ว จะแจ้งให้ผู้สมัครสอบทำการสมัครสมาชิกสภาเภสัชกรรมด้วย จากนั้นก็จะโอนเงินส่งมอบให้แก่สภาเภสัชกรรม เช่นเดียวกับการสมัครสอบ
  • ในกรณีที่ผู้สมัครสอบทำบัตรประจำสอบ เอกสารการแจ้งผลการสอบรายบุคคล ซึ่งใช้เป็นหลักฐานการสมัครสอบ (ในกรณีที่ไม่ใช่การสอบครั้งแรก) สูญหาย ผู้สมัครสอบจะเขียนคำร้องขอจัดทำอกสารดังกล่าวใหม่ ผู้สมัครสอบจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการจัดทำสำเนาเอกสารใหม่ จากนั้นศูนย์สอบความรู้ฯ ก็จะโอนเงินส่งมอบให้แก่สภาเภสัชกรรม เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ

1.3  การรับสมัครทางไปรษณีย์

  • ส่งเอกสารการับสมัครทางไปรษณีย์ไปให้ผู้ขอสมัครสอบที่แจ้งความจำนงต้องการสมัครทางไปรษณีย์ โดยใช้ไปรษณีย์ลงทะเบียน ที่ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องจัดทำเอกสารบันทึกการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
  • ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานการสมัครว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน จะแจ้งให้ผู้สมัครสอบส่งเพิ่มเติม เมื่อเอกสารถูกต้องและครบถ้วน ก็จะจัดรหัสประจำตัวผู้สอบให้ผู้สมัครสอบ
  • ส่งเอกสารหลักฐานการรับสมัคร ได้แก่ บัตรประจำตัวผู้สอบ ใบเสร็จรับเงินฯลฯ
  • ช่วยการจัดการโอนเงินส่งมอบให้สภาเภสัชกรรม
  • จัดทำรายชื่อผู้สมัครสอบ พร้อมพิมพ์ฐานข้อมูลรายละเอียดผู้สอบ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ เป็นต้น โดยโปรแกรม Excel
  • จัดทำระเบียนรายบุคคล (profile) โดยโปรแกรม Access เพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคลของผู้สมัครสอบได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ สถานที่ทำงาน ประวัติการสอบความรู้ฯ การเก็บคะแนนสอบ/การหมดอายุการเก็บคะแนน การสอบผ่าน/ไม่ผ่าน การฝึกงาน เป็นต้น

1.4  การจัดเก็บเอกสารการรับสมัครสอบ

  • ประทับตราหมายเลขการรับสมัครสอบที่แบบฟอร์มคำร้องขอสมัครสอบเมื่อผู้สมัครสอบยื่นเอกสารพร้อมกับแสดงหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว
  • จัดเก็บเอกสารการรับสมัครสอบในแฟ้ม เรียงตามลำดับการรับสมัครสอบ เอกสารประกอบด้วย
    • คำร้องขอสมัครสอบ
    • หลักฐานการศึกษาหรือคำรับรองจากสถาบันการศึกษาที่นิสิตนักศึกษาผู้สมัครสอบสังกัด
    • เอกสารการแจ้งผลสอบและสำเนาบัตรประจำตัวสอบ กรณีเคยสมัครสอบแล้ว ใช้แสดงแทนหลักฐานการศึกษาได้
  • กรณีผู้สมัครสอบเป็นนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่มีการสอบความรู้ฯ ในเดือนมีนาคม ผู้สมัครสอบต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมคือ หลักฐานการศึกษา (transcript) ที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์ ภายในวันที่31 พฤษภาคม ของปีที่สอบนั้น มิฉะนั้นศูนย์สอบความรู้ฯจะดำเนินการตัดผลสอบครั้งนั้นในส่วนของการสอบผ่านหรือการเก็บคะแนนส่วนใดส่วนหนึ่งให้เป็นโมฆะ  โดยจะดำเนินการดังนี้
    • มีหนังสือแจ้งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเพื่อขอให้ผลสอบผ่านและผลการเก็บคะแนนที่ได้รับการรับรองไปแล้ว เป็นโมฆะ
    • ลบข้อมูลออกจากฐานข้อมูลประวัติการเก็บคะแนนของผู้สอบ
    • ทำประกาศเรื่อง การปรับผลสอบผ่านและผลการเก็บคะแนนเป็นโมฆะ ทั้งโดยการติดประกาศที่ศูนย์สอบความรู้ฯ และประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม
  • เก็บหลักฐานการรับสมัครสอบสำหรับการอ้างอิงเป็นระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่การสมัครสอบครั้งนั้น จากนั้นจะดำเนินการทำลายเอกสาร

2.  การกำหนดสนามสอบและเลขที่นั่งสอบ

2.1  การกำหนดสนามสอบ

  • จัดเรียงลำดับรายชื่อผู้สมัครสอบตามรหัสประจำตัวผู้สอบ 
  • สรุปจำนวนผู้สมัครสอบ
    • สำหรับผู้สมัครสอบที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐสรุปจำนวนแยกตามสถาบันการศึกษา และจัดสนามสอบที่สถาบันที่นิสิตนักศึกษาสังกัด ยกเว้นแต่ได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น เช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคามใช้สนามสอบร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • สำหรับผู้สมัครสอบที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยเอกชน ผู้สมัครสอบที่เป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรมแล้ว จัดสนามสอบที่สถาบันที่ให้ความร่วมมือกับศูนย์สอบความรู้ฯรับเป็นสนามสอบ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การจัดเลขที่นั่งสอบและห้องสอบ
    • กำหนดเลขที่นั่งสอบ โดยเลขที่นั่งสอบนี้จะกำหนดใหม่ในการสอบแต่ละครั้ง
    • สำหรับการสอบ MCQ ศูนย์สอบความรู้ฯจะประสานงานกับสนามสอบ เพื่อขอทราบจำนวนห้องสอบที่ใช้ จำนวนที่นั่งสอบ จากนั้น ศูนย์สอบความรู้ฯ จะจัดผู้เข้าสอบให้สอดคล้องกับห้องสอบตามที่ได้รับแจ้งจากสนามสอบ
    • สำหรับการสอบ OSPE ศูนย์สอบความรู้ฯ จะเป็นผู้กำหนดจำนวนห้องสอบ จำนวนรอบสอบ และจัดผู้เข้าสอบในแต่ละสนามสอบตามความเหมาะสม

กำหนดจำนวนผู้เข้าสอบ เท่ากับ 30 คน/ ห้องสอบ/ รอบสอบ

โดยจำนวนรอบไม่ควรเกิน 3 รอบสอบ เนื่องจากมีข้อจำกัดที่อาจารย์ผู้คุมสอบจะเหนื่อยเกินไป หากจำนวนห้องสอบมาก สนามสอบต้องมีอาจารย์คุมสอบจำนวนมากพอ เนื่องจากใช้อาจารย์คุมสอบในปัจจุบัน ประมาณ15 คน/ห้อง และเจ้าหน้าที่ประมาณ 7 คน/ห้อง

2.2  การประกาศ/ประชาสัมพันธ์สนามสอบและเลขที่นั่งสอบ

  • ก่อนกำหนดการสอบ 2 สัปดาห์ ติดประกาศสนามสอบ ห้องสอบและเลขที่นั่งสอบที่บอร์ดของศูนย์สอบความรู้ฯ และเผยแพร่ประกาศบนเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม เพื่อให้ผู้สมัครสอบได้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการสมัครสอบและเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวเข้าสอบ
  • จัดส่งประกาศรายชื่อ เลขที่นั่งสอบและห้องสอบให้แก่สนามสอบ เพื่อใช้สำหรับประกาศ/ประชาสัมพันธ์

3.  การจัดเตรียมข้อสอบและวัสดุสำหรับการสอบ

3.1  การจัดตรียมข้อสอบและวัสดุเกี่ยวกับข้อสอบ MCQ

  • กำหนดแผนการสำเนาข้อสอบ 
    • กำหนดวันสำเนาข้อสอบประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนวันสอบ 
    • คำนวณกำหนดจำนวนข้อสอบ โดยกำหนดให้มีข้อสอบสำรองในแต่ละสนามสอบจำนวน 1 ชุด สนามสอบที่มีผู้สอบจำนวนมากให้มีข้อสอบสำรองจำนวน 2 ชุด ข้อสอบสำรองที่ศูนย์สอบความรู้ฯ จำนวนอย่างน้อย1 ชุด
    • ข้อสอบในแต่ละวิชาสอบ (MCQ11, MCQ12) จะมี  4 ชุด คือ ข้อสอบชุด A, B, C, D โดยในแต่ละชุดจะมีการจัดเรียงลำดับสถานการณ์ข้อสอบต่างกัน โดยเนื้อหาในข้อสอบเหมือนกัน 
  • คำนวณกะประมาณวัสดุการเตรียมข้อสอบ
    • กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์ 1 ม้วนสามารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อม้วน
    • หมึกพิมพ์เครื่องสำเนา 1 หลอดสามมารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อหลอด 
    • คำนวณจำนวนรีมกระดาษสำเนาหรือกระดาษถ่ายเอกสาร

 

 จำนวนรีม   =   (จำนวนหน้าข้อสอบ /2) X จำนวนชุดข้อสอบ

    • กะประมาณจำนวนกระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์

ปกติการสั่งพิมพ์กระดาษคำตอบจะเลือกสั่งจากบริษัทเดียวกับบริษัทเครื่องตรวจข้อสอบ เพื่อป้องกันปัญหามาตรฐานกระดาษและการพิมพ์ทำให้สามารถการสแกนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การสั่งพิมพ์จำนวนยิ่งมากราคายิ่งถูก  ศูนย์สอบความรู้ฯ จะสั่งพิมพ์ครั้งละ 10,000 แผ่น จะสามารถใช้ได้ประมาณ 2  ปี

การสอบครั้งที่ 1  ของปีประมาณ  3000  แผ่น/ครั้ง

การสอบครั้งที่ 2  ของปีประมาณ  1000  แผ่น/ครั้ง

การสอบครั้งที่ 3  ของปี ประมาณ 600  แผ่น/ครั้ง

    • กะประมาณจำนวนซองข้อสอบซึ่งขึ้นกับจำนวนข้อสอบและจำนวนห้องสอบ ซองข้อสอบโดยทั่วไปจะบรรจุข้อสอบประมาณได้ประมาณ 30-40 ชุด
  • สอบราคาจากบริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย ขอใบเสนอราคา ขออนุมัติสั่งซื้อวัสดุ
  • สำเนาข้อสอบในปริมาณที่คำนวณไว้ (เครื่องสำเนา Risographรุ่น PriportJP1250) โดยจำนวนของข้อสอบแต่ละชุดคือ ชุด A, B, C, D  จะเท่ากับจำนวนข้อสอบทั้งหมดที่คำนวณไว้ หารด้วย 4

ข้อปฏิบัติในการสำเนาข้อสอบที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ การสำเนาข้อสอบชุดวิชาใดวิชาหนึ่งเพียง 1 ชุด และจัดเรียงชุดให้เรียบร้อยแล้วจึงเริ่มสำเนาข้อสอบชุดใหม่ต่อไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการปะปนกันของข้อสอบ

  • เรียงจัดชุดข้อสอบโดยเครื่องเรียงเอกสาร (เครื่องเรียงเอกสาร Gestetner รุ่น 310) ซึ่งสามารถ เรียงเอกสารได้ครั้งละ 10  แผ่น  ซึ่งมีประสิทธิภาพลดความผิดพลาดได้ดีกว่าการเรียงโดยใช้แรงงานคน
  • เย็บชุดข้อสอบโดยใช้เครื่องเย็บลวดไฟฟ้า (Electronic stapler ยี่ห้อ Max รุ่น EH-50F) ซึ่งเย็บได้เรียบไม่เป็นรอยนูนทำให้ประหยัดเยื้อที่ในซองข้อสอบและเย็บได้รวดเร็วและประหยัดแรง 
  • ประทับหมายเลขที่นั่งสอบลงบนกระดาษข้อสอบทั้ง 4  ชุดโดยนำข้อสอบทั้งหมดมาจัดสลับกันระหว่าง A, B, C, D จนหมดชุดข้อสอบ
  • ประทับตัวอักษร A, B, C, D ลงบนกระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์ทุกแผ่น พร้อมทั้งประทับหมายเลขที่นั่งสอบลงบนกระดาษคำตอบให้ตรงกับชุดข้อสอบ จากนั้นจับคู่ข้อสอบกับกระดาษคำตอบที่มีอักษรชุด A, B, C, D และเลขที่นั่งสอบตรงกัน เช่น 1234 B โดยการสอดกระดาษคำตอบไว้ระหว่างข้อสอบแผ่นที่ 1 และ 2
  • จัดข้อสอบเข้าซองสำหรับห้องสอบและสนามสอบที่กำหนดเลขที่นั่งสอบและชุดข้อสอบ A, B, C, D ไว้แล้ว
  • ปิดผนึกซองข้อสอบ ประทับตราสภาเภสัชกรรมที่เทปปิดผนึกเพื่อป้องกันการเปิดโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต หากห้องสอบใดมีซองข้อสอบมากว่า 1 ซองให้มัดซองข้อสอบสำหรับห้องสอบนั้นด้วยกัน
  • บรรจุซองข้อสอบลงในกล่องกระดาษปิดผนึก ติดสติกเกอร์ระบุรายละเอียดสนามสอบ

3.2  การจัดเตรียมข้อสอบและวัสดุสำหรับข้อสอบ OSPE

o   กำหนดแผนการสำเนาข้อสอบ 

o   กำหนดวันสำเนาข้อสอบประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนวันสอบ 

o   คำนวณกำหนดจำนวนข้อสอบ โดยกำหนดให้มีข้อสอบสำรองในแต่ละสนามสอบจำนวน 1 ชุด ข้อสอบสำรองที่ศูนย์สอบความรู้ฯ จำนวนอย่างน้อย 1 ชุด ข้อสอบทักษะจะมีลักษณะข้อสอบโดยทั่วไป 2 แบบคือ

          §  ข้อสอบที่ให้คะแนนโดยอาจารย์ประจำสถานีสอบ โดยสังเกตและประเมินจากทักษะที่ผู้สอบแสดง โดยประเมินตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด   

          จัดเตรียมแบบให้คะแนนของผู้เข้าสอบ โดยจะมีชื่อผู้เข้าสอบ เลขที่สอบซึ่งจัดตามห้องสอบและรอบสอบที่กำหนดไว้ โดยจำนวนผู้เข้าสอบ

          §  ข้อสอบที่ให้คะแนนจากการตรวจกระดาษคำตอบ

          จัดพิมพ์สำเนากระดาษคำตอบตามจำนวนผู้เข้าสอบ

o   คำนวณกะประมาณวัสดุการเตรียมข้อสอบ

o   กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์ 1 ม้วนสามารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อม้วน

o   หมึกพิมพ์เครื่องสำเนา 1 หลอดสามมารถใช้สำเนาเอกสารข้อสอบได้ประมาณเท่าใดต่อหลอด

o   คำนวณจำนวนรีมกระดาษสำเนาหรือกระดาษถ่ายเอกสาร

จำนวนรีม   =   จำนวนหน้ากระดาษคำตอบ X จำนวนผูเข้าสอบ

o   กะประมาณจำนวนซองกระดาษคำตอบซึ่งขึ้นกับจำนวนห้องสอบและจำนวนรอบสอบ ซองข้อสอบโดยทั่วไปจะบรรจุข้อสอบประมาณได้ประมาณ 30-40  ชุด

o   กะประมาณจำนวนกล่องกระดาษหรือลังสำหรับบรรจุข้อสอบและวัสดุผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีสำหรับการสอบที่มีขนาดและความหนาพอเหมาะ มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ใหญ่จนไม่สะดวกต่อการขนย้ายและไม่เล็กเกินจนไม่สามารถบรรจุข้อสอบและวัสดุได้พอ  

          § กำหนดกล่องที่ขนาดเหมาะสมคือกล่องกระดาษแบบ 3 ชั้น ขนาด กว้าง X ยาว X สูง เท่ากับ 12 X 14 X 10 นิ้ว

          § สำหรับกล่องบรรจุยาและสารเคมี กำหนด 1 ห้องสอบ ใช้ 1 ลัง

          § สำหรับกล่องบรรจุเอกสารข้อสอบ สนามสอบละ 1-2 กล่อง

o   กะประมาณวัสดุอื่นๆ ได้แก่

          §  เทปกาวขนาดกลางสำหรับปิดผนึกซองข้อสอบ เทปกาวขนาดใหญ่สำหรับปิดผนึกลังกระดาษ

          §  เชือกสำหรับมัดซองข้อสอบและกล่องกระดาษ

          §  กระดาษสติกเกอร์สำหรับพิมพ์รายละเอียดหน้ากล่องกระดาษ

o   จัดเตรียมวัสดุผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีสำหรับการสอบ

o   จัดผลิตภัณฑ์ยาตามรายการที่กำหนดในข้อสอบ โดยเบิกจากสต๊อกผลิตภัณฑ์ยาของศูนย์สอบความรู้ฯ รายการผลิตภัณฑ์ยาใดที่ไม่มีในสต๊อกหรือมีจำนวนไม่พอหรือยาหมดอายุแล้ว จัดซื้อเพิ่มตามจำนวนที่กำหนดในข้อสอบ

o   จัดวัสดุสารเคมีที่กำหนดในข้อสอบ โดยสั่งซื้อในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่ต้องการใช้ ไม่ให้เหลือเกินพอเพราะมีสถานที่เก็บของสต๊อกของศูนย์สอบความรู้ฯจำกัด

o   บรรจุผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีที่จัดไว้ ใส่กล่องกระดาษเรียงตามสถานีสอบ ปิดผนึกกล่อง ติดสติกเกอร์หน้ากล่องระบุหมายเลขห้องสอบ ชื่อสนามสอบ

3.3  การประสานงานกับสนามสอบและประชุมสนามสอบเพื่อรับข้อสอบ

o   มีหนังสือถึงคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์เป็นสนามสอบ ขอให้เสนอชื่อประธานสนามสอบ

o   ดำเนินการประกาศแต่งตั้งประธานสนามสอบ ประจำสถาบันการศึกษาต่างๆ

o   ประสานงานทำความเข้าใจให้แก่ประธานสนามสอบในด้านภาระหน้าที่ของประธานสนามสอบ คู่มือการดำเนินการจัดสอบเพื่อประกันคุณภาพการสอบ ระเบียบข้อบังคับการสอบและการลงโทษ พร้อมจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ประธานสนามสอบ

o   ติดต่อประสานงานการจัดสอบระหว่างศูนย์สอบความรู้ฯและสนามสอบทั้งหมด ในด้านต่างๆ ได้แก่

o   จำนวนห้องสอบ ชื่อห้อง

o   จำนวนที่นั่งในแต่ละห้องสอบ

o   ศูนย์สอบความรู้ฯ กำหนดเลขที่นั่งและชุดข้อสอบ (A, B, C, D) ของแต่ละที่นั่งสอบ

o   ส่งประกาศห้องสอบ เลขที่นั่งสอบให้แก่ทุกสถาบัน

o   จัดส่งหนังสือเชิญประธานสนามสอบเพื่อประชุมทำความเข้าใจข้อสอบและรับข้อสอบ กำหนดนัดวันประชุมประมาณ 3-5 วันก่อนการสอบ ประสานงานขอใช้ห้องประชุมและจัดเตรียมอาหารว่างสำหรับผู้เข้าประชุม

o   จัดเตรียมเอกสารการประชุม ได้แก่

o   ระเบียบการสอบ

o   ข้อกำหนดสำหรับสนามสอบในการดำเนินการจัดสอบ

o   ข้อสอบ MCQ สำรองสำหรับประธานสนามสอบ 1 ชุด (เอกสารปกปิด)

o   ข้อสอบ OSPE สำรองสำหรับประธานสนามสอบ 1 ชุด (เอกสารปกปิด)

o   เอกสารประกอบสำหรับการสอบ OSPE ได้แก่ (เอกสารปกปิด)

          §  โครงสร้างข้อสอบ OSPE 30 สถานี

          §  แผนผังการจัดสถานีสอบแต่ละสถานี รวม 30 สถานี  (การจัดวางอุปกรณ์การสอบ เครื่องแก้ว  หนังสือ  ผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมี ตำแหน่งการจัดวางเก้าอี้นั่งสำหรับผู้เข้าสอบ กรรมการสอบ  ผู้ช่วยกรรมการ)

          §  รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาและสารเคมีพร้อมระบุจำนวน แต่ละสถานี

          §  รายชื่ออุปกรณ์เครื่องแก้ว หนังสือ หรืออุปกรณ์อื่นๆพร้อมระบุจำนวน แต่ละสถานี

          §  คำถามข้อสอบแต่ละสถานี (25  สถานี)

          §  กระดาษคำตอบของแต่ละสถานี (ข้อสอบที่ตอบในกระดาษคำตอบ)

          §  เกณฑ์การให้คะแนนของข้อสอบแต่ละสถานี (25  สถานี)

o   ส่งมอบข้อสอบให้แก่ประธานสนามสอบ โดยจัดเตรียมเอกสารให้ประธานสนามสอบได้ลงชื่อรับมอบข้อสอบ ระบุจำนวนกล่อง/ซองข้อสอบที่ได้รับ

o   ประสานงานจัดเจ้าหน้าที่/คนงานช่วยการขนย้ายข้อสอบให้แก่ประธานสนามสอบ

o   ประสานงานให้บริการประธานสนามสอบโดยจัดหารถรับส่งข้อสอบไปที่สนามบินสำหรับสนามสอบในส่วนภูมิภาค

3.4  การรับข้อสอบ จัดเรียงข้อสอบและการตรวจวิเคราะห์ข้อสอบ MCQ

o   รับมอบข้อสอบและวัสดุอุปกรณ์การสอบคืนจากสนามสอบ โดยจัดทำเอกสารลงชื่อผู้ส่งมอบข้อสอบของสนามสอบ

o   การจัดเรียงข้อสอบ MCQ 

o   ตรวจนับชุดข้อสอบว่ามีจำนวนครบถ้วนตามที่ส่งให้สนามสอบ

o   ตรวจนับกระดาษคำตอบว่ามีจำนวนครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุที่หน้าซองข้อสอบ

o   จัดเรียงกระดาษคำตอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ 

o   ตรวจสอบสภาพกระดาษคำตอบและความเรียบร้อยของการระบายกระดาษคำตอบ เพื่อให้สามารถสแกนตรวจข้อสอบได้โดยไม่ทำให้เกิดปัญหา

o   การตรวจข้อสอบ MCQ

o   ตรวจข้อสอบโดยเครื่องตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบ (เครื่อง NCS Pearson รุ่น Opscana-4 U) โดยสแกนกระดาษคำตอบที่เป็น Key ของข้อสอบ นำมาตรวจสอบความถูกต้องของการสแกนอ่านของเครื่องตรวจข้อสอบก่อนเริ่มการตรวจการะดาษคำตอบอื่น จากนั้นจึงเริ่มตรวจกระดาษคำตอบ

o   ตรวจสอบผลการตรวจว่ามีรายงานความผิดปกติของข้อมูลที่สแกนได้ ได้แก่

          §  รหัสประจำตัวผู้สอบ

          §  ชุดวิชาสอบ

o   บันทึกและรายงานชื่อผู้เข้าสอบที่ระบายข้อมูลการสอบ คือรหัสประจำตัวสอบ และชุดวิชาสอบผิด เพื่อพิจารณาไม่ตรวจพิจารณาคะแนนสอบ

o   การวิเคราะห์ข้อสอบ

o   วิเคราะห์ข้อสอบตามโปรแกรม สั่งพิมพ์รายงานวิเคราะห์ข้อสอบของข้อสอบ MCQ11, MCQ12 พารามิเตอร์การวิเคราะห์ข้อสอบ ได้แก่

          §  ค่าพารามิเตอร์ทั่วไปของการสอบ ได้แก่ Mean, Mode, Median, Standard Deviation, Maximum, Minimum, Reliability เป็นต้น

          §  ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ (item) แต่ละข้อ จำนวนข้อสอบชุดละ 150 ข้อ รวม 300 ข้อ  พิจารณาค่า P (difficulty index), ค่า R (discrimination index) ของข้อสอบแต่ละข้อ  และแต่ละตัวเลือก(1, 2, 3, 4, 5) ของข้อสอบ  บันทึกตัวเลขค่า  P  และ R ของข้อสอบแต่ละข้อลงในตารางโดยโปรแกรม Excel

          §  วิเคราะห์ข้อมูลและจัดกลุ่มข้อสอบที่มีค่า P และ R ต่างๆ นับจำนวนข้อสอบที่มีค่า P และ R ในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

                  1)  ค่า P < 0.2, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 เป็นข้อสอบยากและความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้น้อยหรือได้ดี

                  2)  ค่า P 0.2 -0.8, ค่า R < 0.2 เป็นข้อสอบดี ได้มาตรฐาน ความยากง่ายไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่ความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้น้อย

                  3)  ค่า P 0.2 -0.8, ค่า R > 0.2 เป็นข้อสอบดี ได้มาตรฐาน ความยากง่ายไม่มากหรือน้อยเกินไป และความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้ดี

                  4)  ค่า P > 0.8, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 เป็นข้อสอบง่าย และความสามารถจำแนกคนเก่งและไม่เก่งได้น้อยหรือได้ดี

o   นำข้อสอบกลุ่มที่มีค่า P < 0.2, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 มาพิจารณาในแง่

          §  ข้อสอบมีความยากเกิน หรือมีเนื้อหาอยู่นอกเกณฑ์ความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพฯหรือไม่

          §  ข้อสอบมีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม เข้าใจยาก เช่น การใช้ภาษาปฏิเสธซ้อนปฏิเสธหรือไม่

          §  ข้อสอบมีปัญหาการเฉลยคำตอบคลาดเคลื่อนหรือผิดหรือไม่

o   นำเสนอข้อสอบที่ค่า P < 0.2, ค่า R < 0.2 หรือ R > 0.2 ต่อคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ เพื่อพิจารณา เพื่อให้สามารถตัดสินผลสอบได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง

3.5 การรับข้อสอบ จัดเรียงข้อสอบและการตรวจวิเคราะห์ข้อสอบ OSPE

o   รับมอบข้อสอบและวัสดุอุปกรณ์การสอบคืนจากสนามสอบ โดยจัดทำเอกสารลงชื่อผู้ส่งมอบข้อสอบของสนามสอบ

o   จัดแยกเอกสาร กระดาษคำถาม เอกสารรายชื่อสารเคมี รายชื่อวัสดุอุปกรณ์ เอกสารเกี่ยวกับการสอบ แยกไว้เพื่อรอการทำลายข้อสอบ

o   แยกเอกสารที่เป็นบันทึกจากสนามสอบ และผู้ตรวจให้คะแนนในแต่ละสถานี ในด้านปัญหาของข้อสอบ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวบรวมข้อมูลจัดพิมพ์เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ

o   แยกกระดาษข้อสอบออกเป็น 2 ประเภท

      1)  กระดาษให้คะแนนของอาจารย์คุมสอบในแต่ละสถานีเป็นผู้ประเมินผู้เข้าสอบและให้คะแนน 

          §  ตรวจนับเอกสารให้คะแนนให้ครบทุกห้องสอบ ทุกรอบสอบและทุกสนามสอบ

          §  กรอกคะแนนลงในฐานข้อมูล

     2)  กระดาษคำตอบเพื่อส่งตรวจให้คะแนน

          §  จัดเรียงกระดาษคำตอบ OSPE

          §  ตรวจนับกระดาษคำตอบว่ามีจำนวนครบถ้วนตามที่ส่งให้สนามสอบ

          §  จัดข้อสอบแต่ละข้อส่งกรรมการตรวจข้อสอบ

          §  จัดเอกสารให้กรรมการตรวจข้อสอบลงชื่อรับและส่งข้อสอบ

          §  กรอกคะแนนลงในฐานข้อมูล

          §  ตรวจสอบความถูกต้องของการกรอกคะแนนโดยบุคคลที่ไม่ใช่ผู้กรอกคะแนน

o   การวิเคราะห์ข้อสอบ วิเคราะห์ข้อสอบโดยพิจารณาค่า พารามิเตอร์การวิเคราะห์ข้อสอบ ได้แก่

o   ค่าพารามิเตอร์ทั่วไปของการสอบ ได้แก่ Mean, Mode, Median, Standard Deviation, Maximum, Minimum เป็นต้น

o   วิเคราะห์ข้อสอบว่าเป็นทักษะประเภทใดที่ผู้สอบทำคะแนนเรียงลำดับจากน้อยไปมาก

o   เสนอผลการวิเคราะห์ข้อสอบ พร้อมกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อสอบจากสนามสอบเพื่อให้คณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ พิจารณาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับข้อสอบที่ต้องพิจารณาว่าทำให้การให้คะแนนสอบคลาดเคลื่อนหรือไม่ เพื่อให้สามารถตัดสินผลสอบได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง

3.6  การทำลายเอกสารข้อสอบ

o   ข้อสอบ MCQ

o   กระดาษข้อสอบที่เป็นส่วนกระดาษคำถาม จะเก็บไว้จนเมื่อมีการตรวจข้อสอบ วิเคราะห์คะแนนสอบ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องย่อยเอกสาร (เครื่องย่อยเอกสารยี่ห้อ HSM รุ่น HSM 225.5) โดยความละเอียดของการทำลาย ขนาดชิ้นกระดาษจะถูกตัดเป็นเส้นความกว้าง 0.5 ซม.

o   กระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์ข้อสอบ จะเก็บไว้จนเมื่อมีการตรวจข้อสอบ วิเคราะห์คะแนนสอบและประกาศผลสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนการสอบครั้งใหม่ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องทำลายเอกสาร

o   ข้อสอบ OSPE

o   กระดาษที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบทั้งหมดที่ส่งกลับขากสนามสอบ จะเก็บไว้จนเมื่อมีการตรวจข้อ สอบ วิเคราะห์คะแนนสอบ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องย่อยเอกสาร

o   กระดาษคำตอบและกระดาษให้คะแนนของอาจารย์คุมสอบที่สถานี จะเก็บไว้จนเมื่อมีการกรอกคะแนน ตรวจทานการกรอกคะแนน วิเคราะห์คะแนนสอบและประกาศผลสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนการสอบครั้งใหม่ ก็จะทำลายโดยใช้เครื่องทำลายเอกสาร 

ข.  การจัดสร้างฐานข้อมูลของผู้สอบ บันทึกระเบียนประวัติ คะแนนสอบ และการเก็บคะแนนและผลสอบ

ฐานข้อมูลของผู้สอบ บันทึกระเบียนประวัติ คะแนนสอบ และการเก็บคะแนนและผลสอบของผู้สอบทุกคนจะทำโดยโปรแกรม Microsoft Access การเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลผู้สอบทุกคนจะมีระเบียนประวัติประจำตัว(profile) มี 2 วิธี

1)  ป้อนข้อมูลเพื่อเก็บในระเบียนประจำตัวผู้สอบโดยการเชื่อมต่อ (link) กับไฟล์ข้อมูลต่างๆที่จัดเก็บโดยโปรแกรม Excel  ได้แก่

          o   ไฟล์รายชื่อผู้สมัครสอบ ซึ่งประกอบด้วยชื่อ นามสกุล รหัสประจำตัวสอบ มหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา หลักสูตรที่จบ ประวัติการสอบ คะแนนที่เก็บได้ จะเชื่อมต่อจากไฟล์ Excel เมื่อมีกรอกข้อมูลขณะมีการสมัครสอบ เชื่อมต่อเข้าสู่ระเบียนประวัติโดยอัตโนมัติ (พัฒนาโปรแกรมนี้โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม คือ นางสาวเบญจพร ธนะเพิ่ม)

          o   คะแนนสอบ MCQ และ OSPE และผลการสอบผ่าน ที่พิมพ์โดยโปรแกรม Excel จะเชื่อมต่อเข้าสู่ระเบียนผู้สอบแต่ละคนได้ โดยไม่ต้องกรอกคะแนนเอง ทำให้ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลในระเบียนประวัติ (พัฒนาโปรแกรมนี้โดยอาจารยฺ์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม คือ นางสาวเบญจพร ธนะเพิ่ม)

2)  ป้อนข้อมูลเพื่อเก็บในระเบียนประวัติโดยตรง ได้แก่ การตรวจสอบวันหมดอายุของการเก็บคะแนนสอบ ซึ่งได้กำหนดให้การเก็บคะแนนสอบ MCQ และ OSPE ชุดวิชาใดชุดวิชาหนึ่ง สามารถเก็บได้ 3 ปี หากยังไม่สามารถสอบผ่าน การเก็บคะแนนจะสิ้นสุดลง ปัจจุบัน กำลังพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้สามารถตั้งโปรแกรมในฐานข้อมูล Access ที่จะกำหนดวันหมดอายุในฐานข้อมูลคะแนนสอบเมื่อครบอายุ 3 ปีได้โดยอัตโนมัติ 

การนำข้อมูลในฐานข้อมูลในปัจจุบัน สามารถทำได้อย่างเป็นระบบและใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

1)  สืบค้นข้อมูลผู้สอบแต่ละคนได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่ป้อนข้อมูลชื่อ หรือนามสกุล หรือนรหัสประจำตัวสอบ ก็จะเข้าสู่ฐานข้อมูลระเบียนประวัติผู้สอบรายนั้นได้

2)  จากฐานข้อมูลนี้ สามารถกำหนดให้พิมพ์เอกสารแจ้งผลการสอบรายบุคคลของผู้สอบแต่ละคนได้โดยอัตโนมัติ รายงานผลการสอบรวมของการสอบแต่ละครั้ง เป็นต้น

การเข้าสู่ฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บคะแนนและการนำข้อมูลมาใช้ จะทำโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเท่านั้น โดยจะมีรหัสผ่านในการเข้าสู่โปรแกรม  ทั้งนี้เพื่อรักษาและป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัยและเป็นความลับ

ค.  การให้บริการผู้สมัครสอบในการติดต่อเกี่ยวกับการสอบ ให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานของศูนย์สอบความรู้ฯ และงานด้านอื่นๆของสภาเภสัชกรรม บริหารข้อมูลของศูนย์สอบความรู้ฯ ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสอบบนเว็บไซต์สภาเภสัชกรรม

ในปัจจุบันงานบริการให้ข้อมูลตอบคำถามให้ติดต่อกับศูนย์สอบความรู้ฯ ทั้งโดยทางโทรศัพท์และการมาติดต่อด้วยตนเองมีมากขึ้น ลักษณะข้อมูลที่ต้องตอบคำถามได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับ กำหนดการรับสมัครสอบ วิธีการสมัครสอบ เอกสารที่ใช้ การประกาศผลสอบ การขอขึ้นทะเบียนฯ การขอปรึกษาปัญหาของตนในเรื่องที่เกี่ยวกับการสมัครสอบ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการให้ข้อมูลบนเว็บไซต์ของสภาเภสัชกรรม แต่ก็ยังมีผู้ติดต่อเพื่อสอบถามจำนวนมาก 

.  การบริหารคลังผลิตภัณฑ์ยา วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพ

ตั้งแต่การสอบทักษะทางวิชาชีพครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2546 จนถึงการสอบครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2547 การจัดวัสดุเกี่ยวกับสอบ ได้รับความร่วมมือโดยภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคิดค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายในอัตรา 50 บาท/ผู้สอบ 1 คน 

ต่อมา ศูนย์สอบความรู้ฯ เห็นว่า หากศูนย์สอบความรู้ฯ สามารถดำเนินการในการจัดวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะได้เอง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการสอบได้มากขึ้น ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ การควบคุมเอกสารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และการบริหารคลังวัสดุผลิตภัณฑ์ยา จะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดมากขึ้น

ในดารสอบทักษะทางวิชาชีพซึ่งเป็นการสอบที่พยายามจัดสถานีสอบ (station) ให้มีสถานการณ์ใกล้ เคียงกับสถานการณ์จริงทางวิชาชีพ จึงจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ในการสอบ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดสอบ  ผลิตภัณฑ์ยา วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพต่างๆ จำนวนมาก  ได้แก่

1)  วัสดุเกี่ยวกับการจัดสอบ ได้แก่

          o   แผ่นป้ายประกอบด้วย ป้ายหมายเลขสถานีสอบ หมายเลข 1 – 30 จำนวน 30 ป้าย และป้าย “พัก” ชุดละ 5 ป้าย มีจำนวนรวมทั้งหมด 22  ชุด ปัจจุบันได้เก็บไว้ที่สนามสอบที่ดำเนินการจัดสอบ OSPE ให้กับสภาเภสัชกรรม ใน 9 มหาวิทยาลัย

          o   ถาดนับเม็ดยา 4 ถาด (ใช้กรณีสอบที่สนามสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

          o   นาฬิกาขับเวลาพร้อมกับเสียงกริ่งเมื่อครบเวลา จำนวน 4 เครื่อง (ใช้กรณีสอบที่สนามสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

          o   เครื่องคิดเลข จำนวน 4 เครื่อง (ใช้กรณีสอบที่สนามสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

2)  วัสดุการสอบ

          o   ผลิตภัณฑ์ยา การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ยา ได้จัดทำบัญชีคลังเก็บโดยใช้โปรแกรม Excel โดยเก็บข้อมูลต่างๆของผลิตภัณฑ์ยา ได้แก่ ชื่อสามัญ (generic name) ชื่อการค้า (trade name) รูปแบบยา (dosage form) จำนวนที่มีอยู่ และวันหมดอายุ 

บัญชีคลังยาดังกล่าวนี้ ใช้ประโยชน์ในการควบคุมปริมาณยา การจัดเก็บให้เป็นระบบระเบียบ ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาเมื่อต้องนำผลิตภัณฑ์ยามาใช้ในการสอบซ้ำใหม่ การควบคุมเพื่อคัดแยกยาที่เสื่อมสภาพและหมดอายุ

          o   วัสดุสารเคมีและวัสดุเกี่ยวกับการสอบทักษะทางวิชาชีพต่างๆ ได้แก่วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆที่ใช้ในการสอบ ได้แก่สารเคมี ขวดบรรจุยา เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติคขนาดต่างๆทั้งขวดไม่มีสี และชวดสีชา ถุงพลาสติค ซองยาขนาดต่างๆ ซองใส ซองสีชา สติกเกอร์เพื่อทำป้าย ฉลาก ซองกระดาษสีน้ำตาลขนาดต่างๆ เพื่อบรรจุกระดาษข้อสอบ กระดาษคำตอบ ลังกระดาษขนาดมาจรฐานเพื่อบรรจุอุปกรณ์การสอบต่างๆ ส่งไปยังสนามสอบ

.  การประสานงานของคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ งานธุรการ การออกหนังสือ การประชุมของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ ได้แก่

5.1   คณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ

1)  การประสานงานการประชุมคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ การประชุมจะมีประมาณ 3-4 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่

          - การจัดทำเอกสารเชิญประชุม

          - การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์ เจ้าหน้าที่กรอกเอกสารชื่อที่อยู่ จากนั้นนำไปฝากกับเจ้าหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการนำไปที่ทำการไปรษณีย์

          - การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม

          - การจองห้องประชุม

          - การจัดเตรียมกาแฟและอาหารว่าง 

          - สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงิน

          - การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย

2)  งานเลขานุการสอบความรู้ฯ 

          - การประสานงานการขัดประชุมคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ

          - การจัดทำรายงานการประชุม

          - การบริหารคลังข้อสอบสภาเภสัชกรรม ซึ่งมีระบบและขั้นตอนต่างๆ ได้แก่

                 o   การประสานงานขอข้อสอบจากคณะเภสัชศาสตร์

                 o   การรับและรวบรวมข้อสอบจากคณะทำงานสร้างข้สอบ

                 o   การกำหนดระบบรหัสข้อสอบ (เอกสารประกอบ) จัดรหัสข้อสอบ ทั้งข้อสอบข้อเขียนความรู้ทางเภสัชศาสตร์เชิงบูรณาการ และข้อสอบทักษะทางวิชาชีพ เป็นรหัส 8 หลัก ระบบรหัสนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยเลขานุการคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการจัดทำคลังข้อสอบในปี พ.ศ.2546

                 o   การจัดเก็บข้อสอบในคลังข้อสอบในคอมพิวเตอร์ โดยมีบัญชีควบคุมรายการข้อสอบ โดยโปรแกรม Excel ทำให้สามารถสืบค้นข้อสอบได้ ดังนี้

                           §  ข้อสอบ MCQ สืบค้นข้อสอบได้จาก รหัสประจำข้อสอบ ระบบอาการ/กลุ่มโรค  (17 กลุ่ม) ตามมหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบ (12 มหาวิทยาลัย) ปีที่ออกข้อสอบ ยาที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

                           §  ข้อสอบ OSPE สืบค้นข้อสอบได้จาก กลุ่มทักษะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยา กลุ่มเกี่ยวกับผู้ป่วย กลุ่มสังคมและการบริหาร มหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบ

5.2  คณะทำงานสร้างข้อสอบ

เสนอชื่อโดยคณบดีของคณะเภสัชศาสตร์ที่ออกข้อสอบ โดยคำสั่งแต่งตั้งของงคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯ การประสานงานกับคณะทำงานสร้างข้อสอบ ได้แก่

o   การขอข้อสอบประจำปี

o   การรับข้อสอบ

o   การทำหนังสือแจ้งตอบรับข้อสอบ

o   การส่งข้อสอบเพื่อให้คะทำงานสร้างข้อสอบแก้ไขหลังการประชุมพิจารณาของคณะทำงานเลือกข้อสอบ

o   การรับข้อสอบที่แก้ไขแล้วเพื่อจัดเก็บในคลังข้อสอบสำหรับการสุ่มเพื่อใช้เป็นข้อสอบ

o   การดำเนินการจัดส่งค่าตอบแทนการสร้างข้อสอบ

5.3  คณะทำงานเลือกข้อสอบ 

การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี ใช้เวลาการประชุมต่อเนื่องกัน 2-3 วันต่อครั้ง การประสานงานได้แก่

          - การสรรหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้แก่ เภสัชกรรมคลินิก เภสัชกรรมเทคโนโลยี เภสัชวิทยา/เภสัชวิทยาคลินิก  เภสัชเคมี เภสัชเวท กฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพในบางสาขา

          - การจัดทำเอกสารแต่งตั้งคณะทำงานเลือกข้อสอบ และเชิญประชุม

          - การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์ 

          - การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม

          - การจองห้องประชุม

          - การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานเลือกข้อสอบจากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค

          - การจัดยืมโสตทัศนูปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ LCD, Projector และจอฉาย เพื่อฉายข้อสอบที่พิจารณาขึ้นบนจอฉาย ทั้งนี้เพื่อลดภาระและปัญหาการสำเนาข้อสอบให้คณะทำงานเลือกข้อสอบในการพิจารณาระหว่างการประชุม เป็นการลดค่าใช้จ่ายการสำเนาและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับข้อสอบ

          - การจัดเตรียมอาหารกลางวัน กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม 

          - สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก

          - การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย

5.4  คณะทำงานพัฒนามาตรฐานการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ

การประชุมจะมีประมาณ 1-2   ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่

          -  การขอรายชื่อผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ การทำคำสั่งแต่งตั้ง  และเชิญประชุม

          - การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์ 

          - การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม

          - การจองห้องประชุม

          - การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานฯ จากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค

          - การจัดเตรียม กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม 

          - สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก

          - การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย

5.5  คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการเตรียมยา

การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่

          - การขอรายชื่อผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ การทำคำสั่งแต่งตั้ง และเชิญประชุม

          - การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์ 

          - การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม

          - การจองห้องประชุม

          - การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานฯ จากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค

          - การจัดเตรียม กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม 

          - สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก

          - การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย

5.6  คณะทำงานพัฒนามาตรฐานทักษะวิชาชีพด้านการจ่ายยา

การประชุมจะมีประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี การประสานงานได้แก่

          - การขอรายชื่อผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ การทำคำสั่งแต่งตั้ง และเชิญประชุม

          - การจัดส่งเอกสารลงทะเบียนไปรษณีย์ 

          - การจัดสำเนาเอกสารที่ใช้ในการประชุม

          - การจองห้องประชุม

          - การสำรองที่พัก สำหรับคณะทำงานฯ จากคณะเภสัชศาสตร์ในส่วนภูมิภาค

          - การจัดเตรียม กาแฟและอาหารว่างระหว่างการประชุม 

          - สำรองเงินค่าใช้จ่ายการประชุม การจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง และค่าที่พัก

          - การสรุปบัญชีค่าใช้จ่าย

ฉ.  การบริหารงานธุรการและติดต่อประสานงานกับแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของผู้สมัครสอบที่สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศที่ต้องฝึกงานเพิ่มเติม

o   จัดเตรียมเอกสารแบบฟอร็มคำขอฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เอกสารคู่มือการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และแบบฟอร์มการประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ซึ่งมี 4 แบบฟอร็ม ได้แก่ การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา การผลิตยาระดับการผลิตในโรงพยาบาล การผลิตยาในโรงงานยา

o   ติดต่อประสานงานแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพด้านต่างๆ ได้ โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โรงงานยา และร้านยา

o   เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการฝึกงานปฏิบัติงานวิชาชีพของผู้ขอฝึกเพื่อดำเนินการจัดส่งให้กับแหล่งฝึกและเภสัชกรผู้รับผิดชอบการฝึก

o   ตรวจเยี่ยมแหล่งฝึกเพื่อรับทราบผลและปัญหาการฝึก

o   รวบรวมผลการประเมินการฝึก คิดและรวบรวมคะแนน

o   รายงานผลการฝึกต่อคณะอนุกรรมการสอบความรู้ฯและเลขาธิการสภาเภสัชกรรม ในกรณีที่ผู้ฝึกได้ผ่านการสอบความรู้ฯทั้งในส่วนข้อเขียนความรู้ทางเภสัชศาสตร์เชิงบูรณาการและข้อสอบทักษะทางวิชาชีพแล้ว ก็สามารถสอบผ่านเพื่อจอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้

ช.  งานบริหารอื่นของศูนย์สอบความรู้ฯ ได้แก่

1.  การจัดทำบัญชีเบิกจ่ายพัสดุของศูนย์สอบความรู้ฯ

          o   การจัดทำบัญชีการซื้อ เบิกจ่ายพัสดุ ของศูนย์สอบความรู้ฯ โดยเริ่มพัฒนาให้จัดทำสมุดเบิกจ่าย การจัดเก็บ  พัฒนาให้มีขั้นตอนขออนุมัติจัดซื้อพัสดุ  การจ่ายเงิน 

          o   การจัดทำบัญชีและสต๊อกผลิตภัณฑ์ยาของศูนย์สอบความรู้ฯ จัดเก็บในที่เหมาะสม เช่นในตู้เก็บยาทั่วไป  ในตู้เย็น เป็นต้น

          o   การจัดทำบัญชีครุภัณฑ์ศูนย์สอบความรู้ฯ ซึ่งได้รับอนุมัติจัดซื้อในแต่ละปี  จัดทำรหัสครุภัณฑ์ และบันทึก การใช้งาน

          o   การจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานเกี่ยวกับการสอบที่ศูนย์สอบฯ  ซึ่งมาติดต่อทั้งทางโทรศัพท์และติดต่อด้วยตนเอง เพื่อทราบภาระงานบริหาร ปัญหาการบริการและการแก้ปัญหา

แผนการพัฒนางานในขั้นต่อไป

1.  จัดการบริหาร web page ของศูนย์สอบความรู้ฯ ให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากบริหาร website โดยบริษัทตัวแทน การติดต่อประสานงานเพื่อให้ผู้บริหารเว็บไม่มีประสิทธิภาพ การเสนอข่าวสารไม่ทันสมัย ชักช้า ข้อมูลที่ต้องการให้สื่อสารไม่ครบถ้วน ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้เว็บอยู่เสมอ

2.  พัฒนาระบบการรับสมัครสอบให้สามารถสมัครได้ทางเว็บ โดยสามารถโอนเงินผ่านทางการสมัคร online ได้ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกสภาเภสัชกรรมและผู้สมัครสอบอื่นๆ

3.  พัฒนาระบบการสอบให้ทันสมัย เมื่อคลังข้อสอบมีจำนวนข้อสอบมากพอ การสอบในอนาคตอาจสามารถสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้การสอบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปัญหาการคุมสอบโดยบุคคลได้ส่วนหนึ่ง 

 

 

 
   
 
Banner